ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพบูรณาการการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน รายชีววิทยาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพบูรณาการการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน(Phenomenon-Base learning)รายชีววิทยาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่4โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม)มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)สร้างกระบวนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้บูรณาการกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2)เปรียบเทียบทักษะการคิดและการสะท้อนคิดของผู้เรียน และ 3) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้านความรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ตนเองของผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปรากฏการณ์เป็นฐานโดยนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ จํานวน 70 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ตามแนวทางคุรุสภาแบบประเมินทักษะการคิดและการสะท้อนคิด แบบประเมินตนเองของผู้เรียนและแบบทดสอบประมวลความรู้ชีววิทยาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ t-test (independent)
ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เกิดขึ้นโดยการวางแผนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนร่วมกับเพื่อนครูในสาขาเดียวกัน มีการเปิดชั้นเรียนเพื่อสะท้อนผลการเรียนร่วมกัน จากผลการประเมิน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) มี ความเป็น PLC ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ทักษะการคิดและการสะท้อนคิดของผู้เรียน กลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 2 ไม่มีความแตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย คะแนนทดสอบประมวลความรู้ชีววิทยา พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ชีววิทยา ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยผู้เรียนกลุ่มที่ 1 มีความรู้ระดับปานกลาง และ ผู้เรียนกลุ่มที่ 2 มีความรู้ใน ระดับมาก และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การพัฒนาการเรียนรู้ตนเอง ของผู้เรียน กลุ่มที่ 1 และ กลุ่ม ที่ 2 ไม่มีความแตกต่างกัน
Downloads
Article Details
References
นัตยา หล้าทูนธีรกุล. (2561). เอกสารประกอบการอบรมครู [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. กลุ่มงานศึกษานิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2563). การวิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). สํานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชรพงษ์ เพ็งผจญ และ สกนธ์ชัย ชะนูนันท์. (2566). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8(9), 248-262.
พัชรพร บุญกิตติ, วันชัย ปลื้มภาณุภัทร และ ชาตรี ฝ่ายคําตา. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบสอดแทรกผนวกกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานภายใต้กรอบแนวคิดสะเต็ม ใน(STEM-PBL) เนื้อหาเรื่องกรด-เบส เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สําหรับชั้น มัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 44(4), 54-67. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/250417
แพรวนภา เรียงริลา. (2563). การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับการสะท้อนคิด. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(2), 1-13. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/EDUCLoei/issue/view/17109
วิทยา วรพันธุ์ และ ประสาท เนืองเฉลิม. (2562). การประเมินการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาLearning Assessment for STEM Education. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6(1), 419-426.
Chang, J., Faikhamta, C., Na, J. & Songม J. (2018). A comparison of science classroom environments between Korea and Thailand with a focus on their cultural features. Asia-Pacific Science Education, 4(11), 1-22. https://doi.org/10.1186/s41029-018-0028-1
Esref, A,. & Cevat E. (2021). The effect of phenomenon-based learning approach on students' metacognitive awareness. Academic Journal, Expand your Knowledge : Educational Research and Reviews, 16(5), 181-188, https://doi.org/10.5897/ERR2021.4139.
Kemmis, R., & McTaggart, S. (Eds.). (1988). The action research planner. (3rd ed.).UNSW Press.
Pasi, S,. (2019). Phenomenon Education Re-thinking from Finland, Phenomenon Based Learning Teaching by topics. http://www.phenomenaleducation.info/phenomenon-based-learning.html
Remelyn, L. A. & Lomibao, L. S. (2020). Embedding Proof-Writing in Phenomenon-based Learning to Promote Students' Mathematical Creativity. American Journal of Educational Research, 8(9), 676- 684, https://doi.org/10.12691/education-8-9-9
Tawan, C. & Kulthida N. (2021). Phenomenon-based Learning: Integrated for enhancing learners' knowledge in the real world. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University. 15(2), 251-263.
Tissington, S. (2019). Learning with and through phenomena: An explainer on phenomenon-based learning. Paper presented at the Association of Learning Developers in Higher Education Northern Symposium, 1-8, Middlesbrough UK.
Wutthisak, B., Chowwalit C., & Prayoon W. (2021). The Development of Professional Learning Community (PLC) for Basic Education Schools in Maha Sarakham Province, Thailand. Annals of R.S.C.B., 25(5), 5579 – 5591, http://annalsofrscb.ro
Wutthisak, B. (2021). The Development Biology Authentic Learning of Mahasarakham . University Demonstration School (Secondary), Thailand. Active Learning – Theory and Practice. IntechOpen. https://www.intechopen.com/chapters/78086.
Yunita, N. F. & Endah P. (2020). An Analysis of Grade XI Students' Critical Thinking Skills on Animal Tissue Topic in SMA Negeri 1 Kota Mungkid. Journal of Biology Education. 9 (2), 139-148. http://journal.unnes.ac.id/sju/index.php/ujbeUniversitasNegeriSemarang.