การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

Main Article Content

ลดาวัลย์ ภูมิชัยศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ ของครูเพื่อพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ของครูที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการ จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ ของครู กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนเพชรพิทยาสรรค์ จำนวน 26 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนากระบวนการคิดวิเดราะห์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน โรงเรียนเพชรพิทยาสรรค์ช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 22 คน ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการจัดการ เรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนเพชรพิทยาสรรค์ ช่วงชั้นที่ 4 จำนวน 22 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่เรียนช่วงชั้นที่ 4 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน แบบประเมิน แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดเจตคติต่อการนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม การคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบดังนี้ ระยะที่ 1 สภาพการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนากระบวนการ คิดวิเคราะห์ของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ระยะที่ 2 รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนากระบวนการการคิดวิเคราะห์ของ นักเรียน มุ่งพัฒนาครู 3 ด้าน คือ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ การฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ให้แก่ ครูผู้สอน และความรู้เกี่ยวกับการสอนคิดวิเคราะห์ โดยมีขั้นตอนการพัฒนา 6 ชั้น คือ การเตรียมความพร้อม การเสนอสถานการณ์ปัญหา การฝึกการคิดเป็นรายบุคคล การฝึกการคิดเป็นกลุ่มย่อย การนำเสนอหรืออภิปรายผล การคิด และการประเมินกระบวนการคิด ระยะที่ 3 ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการการคิดวิเดราะห์ ของนักเรียน ปรากฎผล ดังนี้ 1) ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามรูปแบบดังกล่าว มีคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 2) ครูผู้เข้ารับการอบรมตามรูปแบบดังกล่าวสามารถจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ได้ใน ระดับคุณภาพดีมาก จำนวน 13 คน และระดับดี จำนวน 9 คน 3) ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีเจตคติต่อการนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการ คิดวิเคราะห์ของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 4) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยด้านการคิดวิเคราะห์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กองวิจัยการศึกษา. (2542). วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพ: โรงพิมพ์การศาสนา.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2548). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพ: เอช-เอ็นการพิมพ์.

ครุรักษ์ ภิรมย์รักษ์. (2544). การวิจัยในชั้นเรียน. ชลบุรี: โรงพิมพ์งามช่าง.

จริยา ภูสีฤทธิ์. (2550). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ทิศนา แขมมณี. (2546). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผดุง เพชรสุข. (2548). กระบวนการพัฒนาครูในการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

เพราพรรณ เปลี่ยนภู่. (2542). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ศึกษาธิการ กระทรวง. (2548). นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ. สืบคั้นเมื่อ 24 กันยายน 2548, จาก http:// www.moe.go.th/websm/news_aug05/news_aug0521.htm.

สามัญศึกษา,กรม. (2540). ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่องการวิจัยในชั้นเรียน หน่วยที่ 4 นวัตกรรมทางการศึกษา.กรุงเทพ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

มนูญ ชัยพันธ์. (2548). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). เจตนารมณ์ กระทรวงศึกษาธิการ:"2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2548). ผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: คอมม่าการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). สรุปแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544). กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สุธารพิงค์ โนนศรีชัย. (2550). การคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบการเสาะหาความรู้ (SES). วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

อิสระ วาริยศ. (2545). ปัญหาและความต้องการของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในการพัฒนาการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศษ.ม.. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

Baldwin, D. (2004). The Thinking Strand in Social Studies. Education Leardership, 42(1),September 1984.

National Council of Social Studies: NCSS. (2005). Social Studies for Early Childhood and Elementary School Children Preparing for the 21st Century.

Paul, R.W. (2004). Bloom : Taxonomy and Critical Thinking Instruction. Education Leadership,42(, May 1985.

Shelly, A.C. & Wilson, W.W. (2005). Sex Equity and Critical Thinking. Social Education,52(3),March 1988.

Thomas Hughes. (1993). An introduction to Mastery learning Theory Paper Presented at the annual Meeting of the American Education Research Association, New Orleans.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory. Analysis. 3d ed. New York: Harper.