แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา (2) ประเมินความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา (3) พัฒนาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา (4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 47 คนและครู จำนวน 258 คน รวมทั้งสิ้น 305 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามขนาดของสถานศึกษา โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .72–.90 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .99 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60-1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .45–.80 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .98 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุก ข้อ และ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ .80-1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
- ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการสอน
- แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา 1) ด้านความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ต้องศึกษานโยบายของรัฐ มีองค์ความรู้รอบด้านและนำข้อมูลผลสัมฤทธิ์ต่าง ๆ เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการทำงาน 2) ด้านความเชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรรอบรู้ เท่าทันสื่อ และมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ 3) ด้านความเป็นเลิศทางวิชาชีพ มุ่งพัฒนาองค์กรให้มีการดำเนินงาน ที่เป็นเลิศ และส่งเสริมให้ครูและบุคลากรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างสื่อและนวัตกรรม 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการสอน ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สร้างสื่อการสอนและจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 5) ด้านจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมการใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกลิขสิทธิ์ และเป็นต้นแบบการศึกษานโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 6) ด้านกำกับ ติดตาม และประเมินงานอย่างต่อเนื่อง ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวางแผน และประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ
- ผลการประเมินแนวทางพัฒนาโดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
จิติมา วรรณศรี. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล, วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(10), 458-472.
เจษฎา รัตนสุพร และยศพร การงาน. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียนระดับประถมศึกษากรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 18(1), 26-41.
ชัญญาภัค ใยดี. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(1), 150-164.
ไชยา ภาวะบุตร, สุรัตน์ ดวงชาทม และ สุมัทนา หาญสุริย์. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(33), 1-11.
ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์, ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, วัลนิกา ฉลากบาง และพรเทพ เสถียรนพเก้า. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยบทบาทการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 1 – 8.
ธณัชนันท์ พรหมแทนสุด. (2565). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(8), 440-456.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปริญญาพร ขุนพรม. (2564). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการโรงเรียนประถมศึกษา. ปรัชญาดุษฎีบัญฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รินทร์ลภัส ชัยหิรัญกิตติ์. (2563). ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะของนักบัญชี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(1), 86-104.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณี ไวท์, สุวัฒสัน รักขันโท และ สิริวัฒน์ ศรีเครือดง. (2564). ความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 339-355.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
อภิวิชญ์ สนลอย, อรพรรณ ตู้จินดา และดวงใจ ชนะสิทธิ. (2565). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 89-101.
อำนาจ อัปษร, บุญจันทร์ สีสันต์ และปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2019). Information and communication technology leadership of school administrators in Thailand. International Journal of Instruction, 12(2), 639-650.
Alenezi, A. (2017). Technology leadership in Saudi schools. Educ Inf Technol, 22, 1121-1132.
Gyeltshen, L. (2021). Principals’ technology leadership behavior and teachers’ use of information and communication technology (ICT) in Bhutan. Suranaree Journal of Social Science, 15(2), 125–135.
Hero, J. (2020). Exploring the principal’s technology leadership: Its influence on teachers’ technological proficiency. International Journal of Academic Pedagogical Research (IJAPR), 4 (6), 4-10.
MacNeil, A. and Delafield, D. (1998). Principal leadership for successful school technology implementation. ERIC (Educational Resources Information Center), pp. 296-300.
Raman, A. and Thannimalai, R. (2019). The influence of principals’ technology leadership and professional development on teachers’ technology integration in secondary school. Malaysian Journal of Learning and Instruction, 15(1) : 203-228.
Yildiz, B. (2022). Education administrators as technology leaders in blended learning. International Journal of Education Technology and Scientific Researches, 7(17), 976-985, From http://dx.doi.org/10.35826/ijetsar.387.