สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

บงกช เวียงคำ
ชาญวิทย์ หาญรินทร์
ไพฑูรย์ พวงยอด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ (2) ประเมินความต้องการจำเป็นและ (3) พัฒนาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวมจำนวน 317 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ ได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง .80 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .37-.79 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .96 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง  .80 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .26-.96 


และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .97 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหารายข้อมีค่าเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ด้านที่มีค่าสูงกว่าค่าโดยรวม คือ ด้านการพัฒนาความเป็นมืออาชีพ และด้านการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ (3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมพบว่ามีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมลทิพย์ อินแก้วเครือ. (2564). ทักษะและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(14) : 985-991

กรณัฏฐ์ ตาแปง (2563). บทบาทภาวะผู้นำทางการศึกษาของผู้บริหารยุคดิจิทัลในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาแม่สลองในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

กัญญารัตน์ สุขแสน. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต,ปทุมธานี.

ชัญญาภัค ใยดี. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา.วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(1),150-164.

ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, นครปฐม.

ทินกร บัวชูและทิพภาพร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์สาร, 13(2), 286-294.

บุญชม ศรีสะอาด. 2560). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่(พิมพ์ครั้งที่ 9).กรุงเทพ ฯ:สุวิรียาสาส์น.

ประภวิษณุ์ เจียร์สุคนธ์. (2564). สภาพ ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนมเขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยนครพนม,นครพนม.

มณีวรรณ เหมือนนาค. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตปทุมเบญจาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(38), 61-70.

มัทนา วังถนอมศักดิ์ และคณะ. (2564). ผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารความเปลี่ยนแปลง. วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม. 13(2) : 6-24.

ฤทธิกร โยธสิงห์. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.,มหาวิทยาลัยเกษตร.กรุงเทพฯ.

วรรณนภา จำเนียรพืช. (2564). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อทักษะครูในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วิทยานิพนธ์ ค.ม.,มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. อยุธยา.

ศิริพงษ์ กลั่นไพฑูรย์. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร,พิษณุโลก.

สงบ อินทรมณี . (2562). การบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16 (1), 353-360.

สุจรรยา ขาวสกุล. (2564). การพัฒนาดัชนีชี้วัดภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 45-56.

สุรีรัตน์ รอดพ้น. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1.วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(35) : 36-45 ; เมษายน-มิถุนายน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (2564). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2562-2565 (ฉบับทบทวน) บึงกาฬ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Ailan Yuan (2022). Study of Organzation Learning Culture of an Excellent school in Yongzhou, China. Human Sciences, 14(2), 567-584.