บ้านภูชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง : สู่การปฏิบัติ

Main Article Content

ทวีศักดิ์ ชัยปัตถา
คงสิฐ อาจวิชัย
กนกนุช เขียวเชิน
ดวงใจ พรหมเสนา
วนิดา บำรุงสวัสดิ์
พิมพร โมทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้านี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของหมู่บ้านภู อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ใช้กลุ่มเป้าหมาย 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการดำเนินงานเกี่ยวกับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ผลการศึกษาพบว่า หมู่บ้านภูเป็นหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีแนวทางการพัฒนาไปสู่การพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนโดยยึดหลักการตามแนวพระราชดำรัส "เศรษฐกิจพอเพียง" ได้แก่ การรวมกลุ่มต่างๆ ในชุมชนอย่างเข้มแข็ง และเป็นแรงขับเคลื่อนพลังของชุมชน ที่สำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น มีการรวมกลุ่มเพื่องานอาชีพ ลดการใช้สารเคมีทางเกษตร มีระบบ เศรษฐกิจชุมชนที่มาจากฐานความรู้/ภูมิปัญญาชาวบ้านเกิดจากการเชื่อมโยงสัมพันธ์ เกื้อกูลกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน จนเกิดพลังและสามารถชับเคลื่อนไปได้ด้วยตัวของมันเอง เป็นวิถีชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้ พึ่งพาธรรมชาติ และพึ่งพาอาศัยระหว่างกันได้ ทั้งนี้ โดยมีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชาวบ้านในชุมชนการนำ หลักปรัชญาพอเพียงสู่การปฏิบัติของหมู่บ้านกู ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ (1) กิจกรรมด้านการลดรายจ่าย เป็นกิจกรรมแรกเริ่มของการดำเนินตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชเพื่อบริโภค ในครัวเรือน การผลิตและใช้ปุยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพเพื่อการเกษตร การใช้พันธุ์พืชและสัตว์ที่ทางราชการ ส่งเสริม การใช้วัตถุดิบในชุมชนเพื่อผลิตสินค้า (2) กิจกรรมด้านเพิ่มรายได้ ประกอบด้วยการทำอาชีพเสริม ของครัวเรือน การจัดกลุ่มอาชีพ (3) กิจกรรมการออมมีหลักการสำคัญคือ ใช้ 3 ส่วน ออม 1 ส่วน (4) กิจกรรมเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยการจัดทำแผนชุมชนโดยให้สมาชิกในหมู่บ้านมีส่วนร่วม แผนพัฒนาด้านปัจจัยพื้นฐาน และการพัฒนาหมู่บ้านประจำเดือน (5) กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญในการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดีเพราะความผูกพันกับบำมาตั้งแต่ บรรพบุรุษ จัดทำแผนการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และดำเนินการตามแผน (6) กิจกรรมเอื้ออาทร ช่วยเหลือและแบ่งปันในชุมชน ความเอื้ออาทร ช่วยเหลือและการแบ่งปัน เป็นภาพที่พบเห็นได้เสมอใน ชุมชนแห่งนี้ การดำรงชีวิตยังยึดหลักการแบ่งปันอาหาร ผลผลิตทางการเกษตร ระหว่างบ้านใกล้เรือนเคียง และเครือญาติ อยู่อย่างพี่น้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2541). การพัฒนาเศรษฐกิจพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นการปกครอง.

กุศล รักษา. (2539). การนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองไปสู่การปฏิบัติขอ ผู้นำชุมชน กรณีศึกษา:อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2551). เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2.มหาสารคาม : อภิชาติการพิมพ์.

สมบูรณ์ บุติมาลย์. (2548). การพัฒนาบุคลากรในการดำเนินเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราช-ดำริทฤษฎีใหม่ โรงเรียนบุแกรงวิทยาคม อำเภอจอมพระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1.การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สรรเสริญ วงค์ชอุ่ม. (2544). เศรษฐกิจพอเพียง พื้นฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร ?.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการชับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2551, จาก htp://www.nesdb.go.th/plan10/index.htm.

สุภางค์ จันทวานิช. (2542). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.