การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมหาวิชานุกูล

Main Article Content

ฐิติกาญจน์ จันทรสมบัติ

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้าน วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่าน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้บทานภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม (3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้บริบทท้องถิ่นด้าน วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามที่พัฒนาขึ้น (4) หาค่าความคงทนการเรียนรู้หลังจากเรียนบทอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม และ (5) ศึกษาความพึงพอใจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปี ที่ 2 ที่มีต่อบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนมหาวิชานุกูล อำเภอเมืองสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 สังกัดคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ย (Simple Random Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 4 ชนิด คือ บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัด มหาสารคาม จำนวน 16 บท แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้บริบทท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แผนจัดการเรียนรู้บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม และแบบวัด ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรม จังหวัดมหาสารคาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)


ผลการศึกษาปรากฎผลดังนี้ 1. บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒธรรมจังหวัดมหาสารคาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.98/83.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 80/80 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้าน วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3. บทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคามมีค่าดัชนีประสิทธิผล ของเท่ากับ 0.6266 แสดงว่า นักเรียนมีก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นจากก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 62.66 4. หลังการเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 33.37 และหลังจากผ่านไป 2 สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ยความคงทนในการเรียนรู้เท่ากับ 33.20 คะแนนเฉลี่ยลดลง 0.16 และสูญเสียความ ทรงจำคิดเป็นร้อยละ 0.42 และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยหลังจากเรียนแล้ว 2 สัปดาห์กับหลังเรียนแล้วแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือไม่แตกต่างกัน แสดงว่ามีความคงทนต่อการเรียนรู้ 5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้ บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.91) และเมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อเช่นกัน นักเรียนเห็นว่า ข้าพเจ้ารู้สึกเชื่อว่าวิชาภาษาอังกฤษ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การใช้วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนนี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรอบรู้วิชาภาษา อังกฤษ และมีการวัดผลระหว่างภาคปลายภาคและแจ้งผลการวัดให้นักเรียนทราบ โดยสรุป การพัฒนาบทอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการปฏิบัติเท่ากับ 84.98 และประสิทธิผลด้านผลลัพธ์เท่ากับ 83.42 ซึ่งสูงกว่า กณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 นักเรียนมีพัฒนาการด้านความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.66 มีความพึงพอใจต่อการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคงทนต่อการเรียนรู้ ถือเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เหมาะสม สามารถพัฒนานักเรียนที่รอบด้านทั้งความรู้ (Knowledge) ด้านการปฏิบัติ ทักษะความชำนาญ (Practice) และด้านความรู้สึก (Attitude) เจตคตินึกคิด มีการรักการเรียนวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น และวิชาภาษาอังกฤษ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).

ดารณี ชาจิตตะ. (2548), การสร้างบทเรียนการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บริบทท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเกาะแก้วพิทยาสรรค์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วนิดา ดวงฤทธิ์. (2543). ผลของการใช้บทเรียนที่สร้างขึ้นตามความสนใจต่อพัฒนาการทางทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรณา ภูพิชญ์พงษ์. (2545). การสร้างบทอ่านภาษาอังกฤษ เทคนิคสำหรับนักศึกษา ปวส. แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์วิทยาลัยเทคนิคตรัง. สารนิพนธ์ กศ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2548). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาบริบทท้องถิ่นโดยใช้วิธีสอนแบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสาราคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อารีย์ สังฆานาคินทร์. (2542). การใช้บทอ่านที่มีบริบทไทยในการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.