ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาระยะเริ่มประจำการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาระยะเริ่มประจำการ ในโรงเรียนสังกัดสำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาระยะเริ่มประจำการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ตรวจสอบยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาระยะเริ่มประจำการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยอาศัยกรอบแนวคิดการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในระยะเริ่มประจำ การของ Daresh and Playko การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาระยะเริ่มประจำการ โดยใช้แบบสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาในระยะเริ่มประจำการ จำนวน 103 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 3 คน 2)การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม โดยใช้ SWOT Analysis และพัฒนาร่างยุทธศาสตร์จากผลการวิเคราะห์ 3) การตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ครั้งที่ 1 โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นรายบุคคล 4) การตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์ครั้งที่ 2 โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยการสนทนากลุ่ม 5) การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาระยะเริ่มประจำการ ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก คือ ด้านสมรรถนะทางการบริหาร ด้านการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และด้านการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าสภาพปัจจุบันในการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองในด้านสมรรถนะทางการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารงานสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับปานกลาง และการพัฒนาตนเองของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับน้อย ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในการปฏิบัติงานและพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาระยะเริ่มประจำการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างโอกาสให้ผู้บริหารสถานศึกษาระยะเริ่มประจำการ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเตรียมความพร้อมของผู้บริหารสถานศึกษาระยะเริ่มประจำการ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาในระยะเริ่มประจำการ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาในระยะเริ่มประจำการ 3) การตรวจสอบยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาระยะประจำการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ยุทธศาสตร์นั้นมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
Theera Rooncharoen (2007). Professionalism in the management of education during the era of education reform. Bangkok: L.T. Press Printing House.
Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto) (1998). It’s time to dismantle the new personal development system. Bangkok Plan Printing
Rung Kaewdaeng (2002). Thai education revolution. Bangkok: Matichon Wiroj Sararattana, Samphan Phanpreuk and Doctorial students of the Faculty of Educational Management 1st Class. New administrators in primary and secondary schools. Journal of Education Khon Kaen University. 26 (3): 3 – 6.
Somwung Pithiyaniwat et al. (2000). The essence of the Act in respect of license for administrators. Bangkok: Office of teacher professional reform
Office of Teachers and Educational Personnel Committee (2011). Rules and procedures for recruiting teachers and educational personnel for appointing to the position of deputy director and director of education. Retrieved on 26 June 2012 from http:// 203.146.15.33/webtcs/files/v22-54.pdf
Office of the National Economic and Social Development Board (2011). The Eleventh National Economic and. Social Development Plan (2012-2016). Retrieved on 16 July 2012 from http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/ PDF/2554/E/ 152/1.PDF
Daresh, J.C. and Playko, M.A. (1992). The Professional Development of School Administrators: Preservice, induction, and inservice applications. Boston: Allyn & Bacon.
Krejcie, R.V.,and Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities Education and Psychological measurement. 607- 610