ภาวะผู้นำทางวิชาการในโรงเรียนดีเด่น: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก

Main Article Content

สมเกียรติ พละจิตต์
ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร
สมคิด สร้อยน้ำ
ศิริ ฮามสุโพธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะภาวะผู้นำทางวิชาการในโรงเรียนดีเด่น เพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีซึ่งนำไปสู่การสร้างทฤษฎีฐานราก พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ใช้วิธีการเลือกเชิงทฤษฎี (theoretical sampling) วิธีการที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การสังเกตและจดบันทึก การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เอกสาร และการจัดสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมายหลักที่ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนรองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้าระดับชั้นเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูดีเด่นประเภทต่างๆ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ ปกครองนักเรียนนักเรียน ศึกษานิเทศก์ และผู้มาศึกษาดูงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการแปลความและตีความหมายข้อมูล แล้วสร้างมโนทัศน์ขึ้นโดยอาศัยความไวเชิงทฤษฎี และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยในการจัดระบบการวิเคราะห์ข้อมูลผลการวิจัย พบว่า ลักษณะภาวะผู้นำทางวิชาการในโรงเรียนดีเด่น มี 3 ระดับ ได้แก่ระดับบุคคล มี 15 ลักษณะ ระดับทีม มี 24 ลักษณะ และระดับโรงเรียน มี 25 ลักษณะผลสืบเนื่องจากภาวะผู้นำทางวิชาการในโรงเรียนดีเด่น ผลด้านบวกมี 11 ลักษณะผลด้านลบ มี 4 ลักษณะ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Bodhi Sita, Chai. (2004). Art and Science of Qualitative Research. Nakhon Pathom: Mahidol University.

Chan varnish, Amrug. (2004). Guidelines on the Best Practice for Quality Schools. Bangkok: Picwangraphics.

Charmaz, Kathy. (2006). Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. California: Sage.

Hoy, WK. and Miskel, C.G.. (2005). Educational Leadership and reform. United States of America: Information age publishing inc.

Sanrattana, Wirot. (2005). School administrators Three-dimensional professional development to become effective leaders. 5nd Edition. Bangkok: Tipwisutt.