การพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

ปาริชาติ โน๊ตสุภา
วาโร เพ็งสวัสดิ์
วัลนิกา ฉลากบาง
จิตติ กิตติเลิศไพศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนและระดับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของตัวแบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะแรกเป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.38-0.94 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 630 โรง ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และตรวจสอบความตรงของตัวแบบ


ผลการวิจัย1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย ภาวะผู้นำทางวิชาการ ปัจจัยสมรรถนะองค์การ ปัจจัยการจัดกระบวนการเรียนรู้ และปัจจัยบรรยากาศของโรงเรียน ประสิทธิผลของโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละปัจจัย พบว่า ส่วนใหญ่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีเพียงปัจจัยสมรรถนะองค์การที่อยู่ในระดับปานกลาง


2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของตัวแบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square= 226.11 ค่าองศาอิสระ = 115 ค่า P = 0.063 ค่าดัชนี GFI = 0.96 ค่าดัชนี AGFI =0.91 ค่าดัชนี RMSEA = 0.056 และค่า CN = 276.52)


3. ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมต่อประสิทธิผลของโรงเรียน เรียงลำดับตามค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลจากมากไปหาน้อยดังนี้(1) อิทธิพลทางตรงมี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยสมรรถนะองค์การ ปัจจัยการจัดกระบวนการเรียนรู้ ปัจจัยบรรยากาศของโรงเรียนและปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการ (2) อิทธิพลทางอ้อมมี 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยสมรรถนะองค์การที่ส่งผ่านปัจจัยการจัดกระบวนการเรียนรู้กับปัจจัยบรรยากาศของโรงเรียนปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผ่านปัจจัยการจัดกระบวนการเรียนรู้กับปัจจัยบรรยากาศของโรงเรียน และปัจจัยบรรยากาศของโรงเรียนที่ส่งผ่านปัจจัยการจัดกระบวนการเรียนรู้และ(3) อิทธิพลรวมมี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยสมรรถนะองค์การ ปัจจัยการจัดกระบวนการเรียนรู้ ปัจจัยบรรยากาศของโรงเรียน และปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Alig-Mielcarek, M.J. (2003). A model of school success: Instructional leadership, academic press, and student achievement. Dissertation Presented in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Doctor of Philosophy in the Graduate School of The Ohio State University.

Anunnavee P. (2002). Factors That Affect The Efficiency of The Primary School Under The Office of The National Primary Education. Thesis Ph.d. (Education), Chonburi: Burapha University.

Chantasorn W. (1996). Improvement and Government Management Reform. Bangkok: Institute of Policy Studies, Association of Social Sciences,Thailand.

Cherngchaow C. and Others. (1998). Analysis of the structure of the elements that affect the performance of the private school to teach Islam in the southern border provinces. Songklanakarin Journal of social science and Humanities, 4 (May -August).

Eberts & Stone. (1988). Factors Affecting School Effectiveness. London: Greenwood Press.

Hallinger, P. & Murphy, J. (1985). Assessing the Instructional Management Behaviors of Principal, Elementary School Journal. 217- 248.

Heneveld, W. & Craig, H. (1995). School Count: World Bank Project Designs and the Quality of Primary Education in Sub – Saharan Africa. Policy Research Working Paper No. WTP 303. Washington DC.: World Bank.

Hoy,W.K,&,C.G. Miskel. (2005). Educational Administration: Theory, Research, and Practice.6th ed. New York: McGraw-Hill.

Miller, S. (2001). Navigating the Recession Through Effective Leadership. Retrieved December 29, 2006, from http:www.entrepreneur.com/ article/04621295548200.html.

Pheng sawasdi W. (2005). Development of a Linear Structure Relations of Effective Leadership of Executive that Affect Efficiency of Primary School Education. Thesis Ph.D. (Education), Khon Kaen: Graduate School Khon Kaen University.

PhiSek P. (2003). Cultural Organizations and Some Factors that Affect Productivities Science- School army. Thesis Ph.d. (Education), Bangkok: Graduate School of Srinakharinwirot University.

Sararattana W. (2005). Executive Professional Development School: 3 dimensions to the Executives Administrators. 5th. Bangkok: Tipwisut.

Skipper, S. (2006).Conceptual Framework for Effective Inclusive Schools, 2006.

Wiwatthananon S. (2006). Factors that Affect Multiple Descriptors Level for Effectiveness of secondary School in Bangkok. Thesis Ph. D. (Education) Nakornratchasima: Graduate School, Vongchavalitkul University.