การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองและแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง และการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 และ 2/4 โรงเรียนโพธิแสนวิทยา อำเภอกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวนห้องเรียนละ33 คน และ 35 คน ตามลำดับ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง กฏหมายน่ารู้ รูปแบบละ 8 แผน รวมเวลาเรียนแบบละ 16 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.33 – 0.88 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.72 (3) แบบทดสอบวัดการคิด วิเคราะห์ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.28 – 0.43 ค่าอำ นาจจำ แนกตั้งแต่ 0.26 – 0.68 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR-20)เท่ากับ 0.80 (4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.66 – 0.88 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (α) เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้ F-test (One - way MANOVA)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 83.59/82.73 และ 81.56/81.05 ตามลำดับ
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง และแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีค่าเท่ากับ 0.6890 และ 0.6694 ตามลำดับ
3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองมีการคิดวิเคราะห์สูงกว่ากลุ่มที่จัด การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .003 แต่นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ทั้งสองกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ไม่แตกต่างกัน
Downloads
Article Details
References
Department of Academic. (2001). Curriculum of Basic Education B.E.2544. Bangkok: The Express Transportation Organization of Thailand Printing.
Nirat Jantharajit. (2010). Learning For Thinking. Maha Sarakham: Maha Sarakham University Publishing.
Neatra Moondoung. (2007). The Development of Lesson Plan for Simulations Learning, Entitled Democratic Approach in Social Studies, Religion and Culture Content Strands of Mathayomsuksa Three Level. Independent Study for Master of Education Degree. Mahasarakham: Mahasarakham University.
Ong, Ai-Choo and Borich, Gary D. (2006). Teaching Strategies That Promote Thinking: Models and Curriculum Approaches. Singapore: McGraw-Hill Education.
Poungrat Boonyanurat. (2001). New Directions of Thai Teachers. Bangkok: Project of Professional Development in Higher Education, Department of Higher Education, Faculty of Education,
Rheanthong Sudsang. (2007). The Comparison of Learning Outcomes of Mathayomsuksa One Students Between Using Problem-Based Learning and Simulations Learning Approach, Entitled Moral and Ethics, For Social Studies, Religion and Culture Content Strands. Thesis for Master of Education Degree. Mahasarakham: Mahasarakham University.
Severiens, Sabine E. (2009). “Academic and Social Integration and Study Progress in Problem Based Learning,” Dissertation Abstracts International. 58(1): 59-69 ; July.
Supaporn Thatsakorn. (2011). The Comparison of Learning Achievement, Analytical Thinking Abilities, and Emotional Intelligence of Mathayomsuksa Two Students, Between Using Role PlayingApproach and Problem-Based Learning Approach, Entitled Law of Day Life. Thesis for Master of Education Degree. Mahasarakham: Mahasarakham University.
The Office of Basic Education Commission. (2008). The Core Curriculum of Basic Education B.E. 2551. Bangkok: The Agricultural Co-operation of Thailand Publishing.
Tissana Khammanee. (2001) Strategies of Teaching. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing.
Tissana Khammanee. (2002). The Students – Centered Learning. 5th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing.