การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนบ้านหนองหญ้ารังกา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ผญาภาษิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนมีความจำเป็นต้องพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดหลักสูตรให้หลากหลายและร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นและความต้องการของชุมชมและผู้เรียน การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สำรวจความต้องการจำเป็นพัฒนาหลักสูตรโรงเรียน 2) พัฒนาหลักสูตรโรงเรียนที่มีคุณภาพตั้งแต่ระดับเหมาะสมมากขึ้นไป 3) ทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของหลักสูตรโรงเรียน 4) ประเมินผลการใช้หลักสูตรโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองหญ้ารังกา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เอกสารประกอบหลักสูตร เรื่อง ผญาภาษิต แผนการจัดการเรียนรู้ ที่มีคุณภาพระดับมากที่สุด จำนวน 9 แผน มีค่า ( = 4.71, S.D. = 0.26) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .20 ถึง .58 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .87 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหลักสูตรโรงเรียน ชนิดมาตราส่วน 5 ระดับ จำนวน20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .47 ถึง .89 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .96และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน ชนิดมาตราส่วน 5 ระดับจำนวน 30 ข้อ มี ค่าอำนาจจำ แนกรายข้อตั้งแต่ .27 ถึง .97 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัยปรากฏ ดังต่อไปนี้1. ผลการสำรวจความต้องการจำเป็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความต้องการให้พัฒนาหลักสูตรโรงเรียนบ้านหนองหญ้ารังกา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ผญาภาษิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยให้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน
2. ผลการพัฒนาและประเมินคุณภาพหลักสูตรโรงเรียนมีองค์ประกอบครบถ้วนเหมาะสมสอดคล้องกันอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅ = 4.76, S.D. = 0.26) และแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้หลักสูตร ประกอบด้วย สาระสำคัญ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ การวัดและประเมินผล กระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด( x̅ = 4.71, S.D. = 0.26) ผลการทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของหลักสูตรโรงเรียนบ้านหนองหญ้ารังกา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ผญภาษิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.00/84.67 และค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 0.6085 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 60.85ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรโรงเรียนอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ( = 4.79, S.D. = 0.41) และผลการประเมินความคิดเห็นของครูผู้ใช้หลักสูตร อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.25)
โดยสรุป หลักสูตรโรงเรียนบ้านหนองหญ้ารังกา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย(สาระเพิ่มเติม) เรื่อง ผญาภาษิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้การวิจัยและพัฒนา สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและท้องถิ่นเพราะพัฒนาขึ้นจากการ มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นหลักสูตรที่มีองค์ประกอบที่ครบถ้วนและสอดคล้องกันโดยผ่านการประเมินจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน และครูผู้สอน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุดผู้เกี่ยวข้องสามารถนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสม
Downloads
Article Details
References
Akpin, Nupid. (2010). Local Curriculum Development, Working, Occupation, and Technology Learning Substance titled. “Bark Dyed Cotton,” Master of Education Thesis in Curriculum and Instruction, Mahasarakam University.
Dharmawat, Jaruwan. (1983). Villagers’ Paya Poet. Mahasarakam: Thai Language and Eastern Language Department, Faculty of Humanities, Srinakarintarawirot Mahasarakam.
Koomban, Siriwan. (2007). Curriculum Development of Supplementary Thai Language Learning Substance T 4027 Local Lierature. Master of Education Thesis in Thai Language Teaching, Department of Curriculum and Instructional Technique, Silapakon University.
Lorelei Cederstrom. (2009) Developing a curriculum for Native Literature, 1985. Available online at http://vnweb.hwwilsonweb.com (2009/10/20)
Nuangchalerm, Prasat. (2010). Educational Program. Mahasarakam: Mahasarakam University Printing.
Pattaniyatanee, Somneuk. (2003). Educational Measurement. The 6th Printing. Kalasin: Prasan Printing.
Pimreung, Ura. (2009). Local Curriculum Development, Working, Occupation, and Technology Learning Substance titled. “Flower Handmade from Local Material,” Master of Education Thesis in Curriculum and Instruction, Mahasarakam University,
Prasert-a-sa, Duangjan. (2010). Curriculum Development by using Local Wisdom, Working, Occupation, and Technology Learning Substance titled “Cricket Raising,” Master of Education Thesis in Curriculum and Instruction, Mahasarakam University.
Rattasat, Sooksawad. (2010). Local Curriculum Development for Transferring the Local Wisdom titled “Lakpra Tradition,” Master of Education Thesis in Curriculum and Instruction, Taksin University. Tattong, Kanat. (2007). Local Curriculum. Bangkok: Pechkasem Printing.
Toomyota, Patoomwan. (2010). Local Curriculum Development titled “Cradle Plaiting,” Master of Education Thesis in Educational Research, Mahasarakam University.
Utranan, Sa-ngad. (1989). Foundation and Principle of Curriculum Development. the 3rd Edition, Bangkok: Mitsayam Printing.