การเปรียบเทียบผลการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียนกับการเรียนแบบร่วมมือโดยการสอนปกติ เรื่อง สมการและการแก้สมการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) พัฒนาโปรแกรมบทเรียน เรื่อง สมการและการแก้สมการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75(2) หาดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียน ที่พัฒนาขึ้น (3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการแก้ปัญหา ระหว่างนักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียน กับนักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือโดยการสอนปกติ และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนหนองใหญ่วิทยา อำเภอหนองกุงศรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 60 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองเรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียนและกลุ่มควบคุมเรียนแบบร่วมมือโดยการสอนปกติ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) โปรแกรมบทเรียน (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยการสอนปกติ (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (4) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา และ (5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Independent sampling) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้โปรแกรมบทเรียนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.96/78.58
2. ดัชนีประสิทธิผลของโปรแกรมบทเรียนที่พัฒนาขึ้น เท่ากับ 0.6344 นักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือโดยใช้โปรแกรมบทเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือโดยการสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยการใช้โปรแกรมบทเรียนโดยรวมระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุด 7 ข้อ คือเนื้อหาสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาจากโปรแกรมบทเรียน ภาษาที่ใช้ ถูกต้อง เหมาะสม ความเหมาะสมของเสียงดนตรี ภาพกับเสียงมีความ
สัมพันธ์กัน ความเหมาะสมของแบบและขนาดตัวอักษร และตรงตามสาระการเรียนรู้ของสื่อที่นำเสนอ นอกนั้นอยู่ในระดับมาก 13 ข้อ
Downloads
Article Details
References
ครรชิต มาลัยวงค์. (2540). ทัศนะไอที. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จันทร์ฉาย เตมิยาคาร. (2537). เอกสารประกอบคำสอนประจำ วิชา 059759 คอมพิวเตอร์ขั้นสูงกับการศึกษา. เชียงใหม่ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จิราภรณ์ นามมะ. (2548). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์กับการเรียนที่เน้นทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านดู่ และโรงเรียนบ้านโนนสวรรค์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2548) .การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2541) .คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ :ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545) . การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิมพ์ใจ ภิบาลสุข. (2526). “แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาใประเทศไทย,”วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(1) : 1-6 ; มิถุนายน–กันยายน.
สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
อรพรรณ พรสีมา. (2530). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์.
Baroody, Arthur. (1993). “Problem Solving , Reasoning, and Communicating , K-8,” Helping Children Thing Mathematically. New York : Macmillan Publish.
Branca , N.A. (1980). “Problem Solving as a Goal , Process, and Basic Skill. In S. Krulik and R.E. Reys (Eds.),” Problem Solving in Schools Mathematics :1980. Yearbook. P. 3-8. Reston, VA : NCTM.