การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

Main Article Content

ฉลาด จันทรสมบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ของนิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารที่พัฒนาขึ้น 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญจากการสอรายวิชาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตปริญญาโทที่มีต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และ 4 ) ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จผลการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ คัญของการเรียนการสอน กลุ่มผู้ร่วมวิจัย คือนิสิตปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ศูนย์ศรีสะเกษ จำนวน 46 คน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) โดยประยุกต์ใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้ควบคู่กับแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หนังสือชุดวิชาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น วีดิทัศน์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .20-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .80 แบบบันทึกหลังการปฏิบัติ แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 75 และประเด็นการสนทนากลุ่มในการวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จผลการจัดการเรียนรู้รายวิชา สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และค่า t-test แบบ Dependent ผลการวิจัย พบดังนี้ 


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทีพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบหลัก คือ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มี 6 ขั้น และแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มี 13 กิจกรรมย่อย ประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า (1) ความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติทีเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (2) ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมาก กับแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน


2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่มีองค์ประกอบหลัก คือ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 6 ขั้นตอน และใช้ควบคู่กับแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 21 กิจกรรมย่อย เป็นรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) แผนดำ เนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่พัฒนาขึ้นโดยรวมมีประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์เท่ากับ 84.86/78.03 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนดำเนินงานจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยรวมมีค่าเท่ากับ .5392 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 53.92 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความคงทนในการเรียนรู้หลังจากการสอนไปแล้ว 2 สัปดาห์ ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยระหว่างหลังเรียนแล้ว 2 สัปดาห์กับหลังเรียนแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05แสดงว่ามีความคงทนต่อการเรียนรู้


3. ความพึงพอใจของนิสิตปริญญาโทที่มีต่อคุณภาพการสอนของอาจารย์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในรายวิชาการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านทักษะการสอนของอาจารย์ (ทฤษฎี) ด้านเนื้อหา ด้านความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนิสิต ด้านทักษะการสอนของอาจารย์(ปฏิบัติ) เรียงตามลำดับ ส่วนด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


4. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผลการจัดการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีผลลัพธ์ หลังจากใช้การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมควบคู่กับแผนดำเนินงานกิจกรรมการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานการกำหนดความต้องการ เป้าหมาย การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ในรายวิชาตั้งแต่เริ่มแรก 2) ความตระหนักรู้สึก นึกคิดเจตคติที่ดี มีความรับผิดชอบต่อรายวิชาที่เรียนทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม 3) มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุตามข้อตกลงร่วมกันที่วางไว้ 4) บรรยากาศในการเรียน อาจารย์ผู้สอนเป็นอำนวยความสะดวก กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่รอบด้านทั้งโปรแกรม มีหนังสือชุดวิชา สื่อ เครื่องมือการศึกษาค้นคว้า การบันทึกหลักการปฏิบัติ(AAR) และมีตัวอย่างกรณีศึกษาจากรุ่นพี่ๆ เพื่อเทียบคุณภาพของงาน 5) ประเมิน สรุปการดำเนินงาน ในผลลัพธ์จากรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต่อผู้เรียนจริงทั้งภาคความรู้ ความรู้สึก และทักษะการปฏิบัติงานภาคสนาม 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และเครือข่ายการเรียนรู้เกิดชุดความรู้ที่ผ่านการปฏิบัติ 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

. (2546) .คู่มือการดำเนินงานศูนย์การเรียนชุมชนของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน กรุงเทพมหานคร พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ฉลาด จันทรสมบัติ. (2550). การวางแผนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. มหาสารคาม :อภิชาติการพิมพ์.

. (2551). ชุดวิชา การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์, .

. (2551). การพัฒนาแผนการเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชา 0501803 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์.

เนาวรัตน์ พลายน้อย. (2546). “การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ในการถอดบทเรียนด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์หลังการปฏิบัติ (After Action Review)” บทความประกอบการฝึกอบรม. 11 พฤศจิกายน. <http://www.kmi.or.th/document/AAR_analysis.pdf > 10 พฤษภาคม 2550.

ประเวศ วะสี. (2545). การจัดการความรู้. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกร่างโครงการนำร่อง การจัดการความรู้ 27 กรกฎาคม 2545 ณ จังหวัดกาญจนบุรี.

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2546). การบริหารสังคม : ศาสตร์แห่งศตวรรษเพื่อสังคมไทยและสังคมโลก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน).

วันทิพย์ สินสูงสุด. (2549). การใช้การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อสร้างองค์กรใฝ่เรียนรู้.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ช้างศึกษา.

วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ เพื่อสังคม (สคส.).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ .(2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2550).หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.

Chalard Chantarasombat. (2009). Development of a Management Action Learning Process Facilitating Student Centered Learning Education Management for Local Development Course 0501803. The Social Sciences, Medwell Journals, 4(5) pg. 424-427.

. (2009). Strategy to Develop Desirable Student Qualities for Maha Sarakham Province by Using Educational Research Network. The Social Sciences, Medwell Journals, 4(5), pg. 453-457.

. (2009). The Learning Process for Construction and Development of the Network of Community Organization for Self-Reliance in Thailand. The Social Sciences, Medwell Journals, 4(6), pg. 540-548.

Dilworth, Robert L., (1998). “Action Francisco: Jossey-Bass Learning in a Nutshell” Performance Improvement quarterly, 11(1), 4(6), pg.35.

Marquardt, Michael J. (1999). Action Learning in Action. California : Davies Black.

Nonaka, I. and H. Takeuchi. (1995). The Knowledge-creating Company : How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation. New York Oxford University Press. pg.20-25.