ผลการแนะแนวตามทฤษฏีเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางของนักเรียนโดยใช้ (1) วิธีสอนตามโปรแกรมการแนะแนวตามทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และ(2) วิธีสอนตามแผนการจัดกิจกรรมในคาบแนะแนว 2) เปรียบเทียบความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการทดลองใช้ วิธีสอนตามโปรแกรมการแนะแนวตามทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และ วิธีสอนตามแผนการจัดกิจกรรมในคาบแนะแนว และ 3) เปรียบเทียบความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางระหว่างนักเรียนที่ได้รับวิธีสอนตามโปรแกรมการแนะแนวตามทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และกลุ่มที่ได้รับวิธีสอนตามแผนการจัดกิจกรรมในคาบแนะแนว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุวรรณภูมิวิทยาลัย จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง 1 จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสอนตามโปรแกรมการแนะแนวตามทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และกลุ่มทดลอง2 จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสอนตามแผนการจัดกิจกรรมในคาบแนะแนว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมกิจกรรมการแนะแนวตาม ทฤษฎี เหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม (2) แผนการจัดกิจกรรมในคาบแนะแนว และ (3) แบบวัดความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง มีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (dependent samples) และ t-test (independent samples) ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
1. ก่อนการทดลองใช้ วิธีสอนตามโปรแกรมการแนะแนวตามทฤษฎีเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม นักเรียนมีความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง ก่อนทดลอง โดยรวมและรายข้อ 29 ข้อ อยู่ในระดับมาก และอยู่ในระดับปานกลาง1ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อ 28 ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองไม่รู้จะสมัครเข้าศึกษาคณะอะไรหรือสถานการศึกษาแห่งไหนดี ภายหลังการทดลอง พบว่าความวิตกกังวลโดยรวมและรายข้อ 21 ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง และอยู่ในระดับน้อย 9 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อ 29 ข้าพเจ้ารู้สึกว่ายังไม่รู้เคล็ดลับในการสอบเข้าศึกษาต่อ ส่วนการทดลอง วิธีสอนตามแผนการจัดกิจกรรมในคาบแนะแนว นักเรียนมีความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางก่อนและหลังทดลอง โดยรวมและรายข้อทุกข้อ อยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดได้แก่ ข้อ 28 ข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองไม่รู้จะสมัครเข้าศึกษาคณะอะไร หรือสถานการศึกษาแห่งไหนดี
2. การทดลองใช้ วิธีสอนตามโปรแกรมการแนะแนวตามทฤษฎี เหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม กับนักเรียนกลุ่มที่ 1 พบว่ามีความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางระหว่างก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการทดลองใช้ วิธีสอนตามแผนการจัดกิจกรรมในคาบแนะแนวกับนักเรียนกลุ่มที่ 2 พบว่ามีความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระหว่างก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน
3. นักเรียนที่ได้รับวิธีสอนตามโปรแกรมการแนะแนวตามทฤษฎี เหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม มีความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง ลดลงมากกว่ากลุ่มนักเรียนที่ได้รับวิธีสอนตามแผนการจัดกิจกรรมในคาบแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
References
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). แผนการจัดกิจกรรมในคาบแนะแนวของศูนย์พัฒนาคุณภาพงานแนะแนว. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุงศรี จุลนะมานี. (2545). ผลของการใช้โปรแกรมแนะแนวอาชีพที่มีต่อการคัดเลือกอาชีพของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสมบูรณ์สาธิตมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฉวีวรรณ ใหม่คำมิ. (2541). ความวิตกกังวลในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา เขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ไทยรัฐ. (16 พฤษภาคม 2551). นักเรียน ม.6 ระเบิดขมับดับอนาคต เหตุเครียดจัดสอบแอดมิสชั่นไม่ติด. ไทยรัฐ, หน้า 22.
ธันย์ วรรณโชดก. (2536). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปรับตัวของนิสิตปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวรที่เข้าเรียนด้วยการสอบคัดเลือกจากทบวงมหาวิทยาลัย และสอบคัดเลือกจากระบบโควตา ปีการศึกษา 2535. วิทยานิพนธ์กศ.ม. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เผด็จ ภู่ประจำ ศิลป์. (2545). การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ วท.ม. ชลบุรี :มหาวิทยาลัยบูรพา.
พนม ลิ้มอารีย์. (2533). การแนะแนวเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
รัศมี เพชรมีศรี. (2546). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฏีเหตุผลและอารมณ์ที่มีต่อ การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองและลดความเครียดของนักเรียนแผนกธุรกิจพยาบาล โรงเรียนเทคโนโลยีชนะพลขันธ์ นครราชสีมา ปีการศึกษา2546. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริศักดิ์ แสงอาษามาศ. (2548). ความวิตกกังวลที่มีต่อการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ของนักเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อาภา จันทรสกุล. (2536). ทฤษฏีและการให้คำปรึกษา. กรุงเทพฯ : ภาคจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Eills, A and, J.M Whiteley. (1997). The Therretical and Empirical Foundation of Ration-Emotion Therapy. Pacific Grove : Brooks Cole Publishing.