ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการตระหนักรู้ทางสังคมของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่พักในหอพักมหาวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาการตระหนักรู้ทางสังคมของนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ แต่เข้าร่วมกิจกรรมตามปกติของสำนักงานหอพัก (2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ทางสังคมที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง และ (3) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ทางสังคมระหว่างนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ และนิสิตที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ แต่เข้าร่วมกิจกรรมตามปกติของสำนักงานหอพัก กลุ่มตัวอย่างได้มาจากนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่พักในหอพักมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2551 จำนวน 20 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (purposive samples) จำแนกเป็นนิสิตที่มีความสมัครใจเข้าร่วมิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ จำนวน 10 คน และนิสิตที่มีความสมัครใจไม่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ แต่เข้าร่วมกิจกรรมตามปกติของสำนักงานหอพัก จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ทางสังคมและ (2) แบบวัดการตระหนักรู้ทางสังคม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกซัน (the Wilcoxon matched pairs signed–ranks test) และการทดสอบแมนน์-วิทนี ยู เทสต์ (the Mann–Whitney U Test)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มีระดับการตระหนักรู้ทางสังคมโดยรวม และรายข้อ 14 ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนข้อที่เหลืออีก 6 ข้อ อยู่ในระดับน้อย โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อ 12 ท่านจะร่วมทำ งานกลุ่มให้เสร็จตามที่กำหนดทุกครั้งถึงแม้ว่าเพื่อนของท่านชอบเกี่ยงกันทำงานไม่ช่วยทำงาน และหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ มีระดับการตระหนักรู้ทางสังคมโดยรวม และรายข้อ18ข้อ อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่เหลืออีก 2 ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือข้อ 2 ท่านรู้สึกว่าในปัจจุบันปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย พบว่าอายุของผู้เริ่มใช้ยาเสพติดมีแนวโน้มลดลง ส่วนนิสิตที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์แต่เข้าร่วมกิจกรรมตามปกติของสำนักงานหอพัก ก่อนร่วมกิจกรรมตามปกติของสำนักงานหอพัก มีระดับการตระหนักรู้ทางสังคมโดยรวมและรายข้อทุกข้อทั้ง 20 ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือข้อ 15 ท่านรู้สึกว่าท่านควรมีส่วนร่วมในการประหยัดใน การใช้พลังงานตามรัฐบาลเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนร่วมกันประหยัดในการใช้พลังงาน และหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมตามปกติของสำนักงานหอพัก มีระดับการตระหนักรู้ทางสังคม โดยรวมและรายข้อทั้ง 20 ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ข้อ 12 ท่านจะร่วมทำงานกลุ่มให้เสร็จตามที่กำ หนดทุกครั้งถึงแม้ว่าเพื่อนของท่านชอบเกี่ยงกันทำงานไม่ช่วยทำงาน
2. นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ มีการตระหนักรู้ทางสังคม โดยรวมหลังจากที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์มีความตระหนักรู้ทางสังคมมากกว่านิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมตามปกติของสำนักงานหอพัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
References
คมเพชร ฉัตรศุภกุล. (2546). กิจกรรมกลุ่มโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธนรัชการพิมพ์.
ทองเรียน อมรัชกุล. (2533). กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ.
ทิศนา แขมมณี. (2545). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ : นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ.
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2550). การศึกษาการตระหนักรู้ทางสังคม และการสร้างโมเดลการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ทางสังคมของวัยรุ่นไทย.ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
เยาวพา เตชะคุปต์. (2542). ทฤษฏีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์และการสอนกลุ่มสัมพันธ์ :ทฤษฏีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น.
สมจิตร ไชยผง. (2549). ผลของกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการปรับตัวทางสังคมของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุทุมพร ตรังคสมบัติ. (2544). พัฒนา EQ เด็กอย่างไร. กรุงเทพฯ : แปลนพับลิชซิ่ง.
Greene, Rhirley R. and Kamimura Mark. (2003). “Ties that Bind : Enhanced Social Awareness Development Through Interaction with Diverse Peers,” The Annual Meeting of the Association for Study of Higher Education Portland. November, 2009.
Shaffer, David R. (2000). Social and Personality Development. 4th ed. Wadsworth Thomson Learning.
Ossimiz, Gunther. (2005). Information, Communication and Social Awareness. Hawai : Hawai University, 2005.