ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

จตุพงศ์ พัฒนากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้ปัจจัยกาหรบริหารโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันและโรงเรียนทั่วไป (2) เพื่อค้นหาปัจจัยการบริหารที่สามารถจำแนกโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันออกจากโรงเรียนทั่วไปและ (3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาปัจจัยการบริหารสำคัญที่สามารถจำแนกโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันออกจากโรงเรียนทั่วไป กลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้มีจำนวน 640 คน ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน รองผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และผู้แทนครูในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันจำนวน 40 โรงเรียน โรงเรียนทั่วไปจำนวน 40 โรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มโดยวิธีแต่ละขั้นตอน (Stepwise Method)


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการบริหารของโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน อยู่ในระดับมาก ส่วนโรงเรียนทั่วไปอยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วยปัจจัยการบริหาร 3 ปัจจัย ได้แก่ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการบริหาร และวัฒนธรรมโรงเรียน ซึ่งใช้จำแนกความเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝันออกจากโรงเรียนทั่วไปได้ แนวทางพัฒนาปัจจัยที่สำคัญคือภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำการกำหนดคุณลักษณะภาวะผู้นำการเตรียมการพัฒนาการพัฒนาลักษณะภาวะผู้นำการประเมินผลการพัฒนา การปรับปรุงและแก้ไข และการประเมินผลการดำเนินการทั้งหมด ซึ่งแต่ละขั้นตอน มีรายละเอียดเกี่ยวกับสาระการพัฒนาจุดประสงค์เฉพาะ วิธีการพัฒนาและการประเมินผล 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ :สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดบูรณาการ. (2547). แนวทางการดำเนินงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง.

ถวิล มาตรเลี่ยม. (2545). การปฏิรูปการศึกษาโรงเรียนเชิงฐานการบริหารจัดการ (School– Based Management : SBM). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

บุญเลิศ ไพรินทร์. (2538). เทคนิคเพื่อการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทักษะ และทัศนคติ.กรุงเทพมหานคร : รำไทยเพรส.

เบญจพร แก้วมีศรี. (2545). การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2543). ผลการฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้นำนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุ่ง แก้วแดง และ ชัยณรงค์ สุวรรณสาร. (2536). แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพองค์การประมวลสาระ ชุดวิชาและแนวทางปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2548). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา. นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สำนักผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ. (2547). รายงานการติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 13. เอกสารอัดสำเนา.

อำรุง จันทวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและจัดการพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Hoy, Wayne K. & Miskel , Cecil G. (2005). Educational Administration : Theory, Research and Practice. Singapore : McGraw – Hill.

Moris, Van Cleve. (1981). Deaning : Middle Management in Academe. Champaign : University of Illinois Press.Nance, J.P. (2003 , October). Pubic School Administrators and Technology PolicyMaking. Educational Administration Quarterly. 39 (4) : 434 - 467.