การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาพลศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การประเมินหลักสูตรเป็นการรวบรวมและศึกษาข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้ข้อมูลสนเทศในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย และเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตโปรแกรมวิชาพลศึกษา สถาบันกาพลศึกษาวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2554โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากร จำนวน 631 คน ประกอบด้วย อาจารย์ จำนวน 34 คน นักศึกษา จำนวน 90 คน บัณฑิต จำนวน169 คน ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต จำนวน 169 คน และเพื่อนร่วมงานของบัณฑิต จำนวน 169 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้1. อาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต เห็นว่าด้านบริบทโดยรวมและจำแนกตามด้านย่อย ได้แก่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหาสาระของหลักสูตร ีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะว่าควรสำ รวจความต้องการของผู้เรียนเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในกาพัฒนาหลักสูตรต่อไป และควรจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, การวิจัยเบื้องต้น และการใช้คอมพิวเตอร์สำนักงาน
2. อาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต เห็นว่าด้านปัจจัยเบื้องต้นโดยรวมและจำแนกตามด้านย่อย ได้แก่ คุณลักษณะผู้เรียน คุณลักษณะของคณาจารย์ และวัสดุการศึกษา สื่อตำราเรียนและสถานที่เรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาเพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูลให้เพียงพอ และควรเพิ่มอุปกรณ์พลศึกษาที่ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น
3. อาจารย์ นักศึกษา และบัณฑิต เห็นว่าด้านกระบวนการโดยรวมและจำแนกตามด้านย่อย ได้แก่ กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และการบริหารจัดการหลักสูตร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะว่าควรวางแผนเพิ่มอัตรากำลังอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนให้เพียงพอกับภาระงาน เพื่อให้อาจารย์รับผิดชอบเฉพาะงานสอนเพียงอย่างเดียว
4. บัณฑิต ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต และเพื่อนร่วมงานของบัณฑิต เห็นว่าด้านผลผลิตโดยรวมและจำแนกตามด้านย่อย ได้แก่ คุณภาพการปฏิบัติงานทั่วไป ด้านคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ และคุณภาพการปฏิบัติงานด้านพลศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะว่าบัณฑิตควรศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ และทันสมัยเพิ่มเติมเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน และเป็นการพัฒนาตนเอง
โดยสรุป หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความเหมาะสมทุกด้านอยู่ในระดับมากจึงสมควรใช้หลักสูตรนี้ต่อไป แต่ควรหาแนวทางพัฒนาให้หลักสูตรมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้นเพื่อความเป็นเลิศด้านพลศึกษา
Downloads
Article Details
References
Breithaupt, David L. “Collaborative Curriculum Development : An instructional Technology Integration Model for School-university Partnerships,” Dissertation Abstracts International. 58(05) : 1668-A ; November, 1997.
Brigman, Greg A. “The Effects of Student Readiness Training on the Listening Comprehension, Attending, and Social Skills of Kindergarten Students (Readiness, Attention),” Dissertation Abstracts International. 52(08) : 2814-A ; February, 1992.
Chatawiti, Sompong et. al., (2009). Evaluation of Bachdelor’s of Physical Education, Faculty of Education, Physical Education Institute, 2005 (Revised Issue 2007), Bangkok: Physical Education Institute,
Chukampang, Chawalit. (2008). Curriculum Development. Mahasarakam: Mahasarakam University.
. (2010). Curriculum and Teaching Research. Mahasarakam: Mahasarakam University.
Janreun, Jutatip. (2009). Evaluation of Master’s of Education Thesis in Educational Measurement and Evaluation, Faculty of Education, Chiengmai University. Master of Education Thesis, Mahasarakam: Mahasarakam University,
Poonachai, Tamrong. (2004). Evaluation of Master of Education Program in Educational Research, Faculty of Education, Mahasarakam University. Master of Education, Mahasarakam: Mahasarakam University,
Ritwong, Patrawan. (2004). Evaluation of Master of Education Program in Educational Administration, Faculty of Education, Mahasarakam University. Master of Education, Mahasarakam: Mahasarakam University,
Samanyat, Jarinya. (2009). Evaluation of Bachdelor’s of Sport Science Program, Physical Education Institute, North Eastern Campus. Master of Education Thesis, Chiengmai: Chiengmai University,
Sooknalam, Anin. (2005). Evaluation of Master of Education Program in Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Mahasarakam University. Master of Education, Mahasarakam: Mahasarakam University,
Soontonrote, Wimonrat. (2010). Innovation for Learning. The 5th Edition. Kalasin: Prasan Printing,
Sri-sa-ad Boonchom et. al., (1985). Curriculum and teaching Development. Mahasarakam: Department of Foundation of Education, Srinakarintarawirot Mahasarakam University,
Neville, Lynn Bertino. “Quality Assurance and Improvement Planning in Two Elementary School : Case Studies in Illinois School Reform,” Dissertation Abstracts International. 60(04) : 963-A ; October, 1999.
Wongyai, Wichai. (1994). Curriculum Development Process and Practice Teaching. Bangkok: Suwiriyasan.