ความต้องการการนิเทศภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Main Article Content

โสภณ ชุมพลศักดิ์
สุนทร โคตรบรรเทา
ปรานีพัน จารุวัฒนพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ใน 3 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบความต้องการทั้งสามด้านดังกล่าวโดยจำแนกตามตัวแปรต้น คือ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ และเพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่ปฏิบัติ อนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะจำนวน 132 คน ซึ่งได้มาโดยตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน และการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ตัวเลือกซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น และมีค่าความเชื่อมั่น .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และวิธีการของ เชฟเฟ ผลการวิจัยสำคัญสรุปได้ดังนี้ 


1. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความต้องการการนิเทศภายในโดยรวม รายด้านและรายข้ออยู่ในระดับมาก


2. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีวุฒิการศึกษาสาขาศิลปะและสาขาอื่นๆ มีความต้องการนิเทศภายในโดยรวม รายด้าน และรายข้อส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ยกเว้นในเรื่อง การแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การนิเทศการใช้หลักสูตร การนำผลการประเมินมาปรับปรุง พัฒนาและแก้ไข การใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้และหลักการวัดผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นในเรื่องการนิเทศ การใช้หลักสูตร และการนำผลการประเมินมาปรับปรุง พัฒนาและแก้ไข แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลจุดเน้นความต้องการของท้องถิ่น การนิเทศกำกับ ติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และหลักการวัดผลการเรียนรู้ ที่ระดับ .05


3. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีประสบการณ์ต่ำกว่า 5 ปี 5-10 ปี และมากกว่า 10 ปี มีความต้องการนิเทศภายในโดยรวม รายด้านและรายข้อส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ยกเว้นในเรื่องการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา บทบาทของผู้เรียนในการเรียนรู้ การวิเคราะห์หลักสูตรท้องถิ่น การวางแผน การจัดทำหลักสูตร การอบรมการใช้หลักสูตร การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการใช้เทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นในเรื่องการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรท้องถิ่น และหลักสูตรสถานศึกษา การวางแผนการจัดทำหลักสูตร และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลจุดเน้นความต้องการของท้องถิ่น การอบรมการใช้หลักสูตร การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หลักการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ ที่ระดับ .05


4. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะในโรงเรียนมัธยมศึกษา เห็นปัญหาสำคัญได้แก่ ครูขาดความรู้ความเข้าใจด้านการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น โรงเรียนขาดสื่อ วัสดุอุปกรณ์การสอนไม่เพียงพอและครูขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวัดประเมินผลที่หลากหลาย และให้ข้อเสนอแนะสำคัญคือควรปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเป็นท้องถิ่นความเป็นเอกลักษณ์ของไทย ควรจัดตั้งงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพิ่มมากขึ้น และควรจัดอบรมเทคนิคการวัดผลและประเมินผล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Chinda, Krongthong. (2009). Problem and Means for Development of Internal Supervision in Secondary Schools under Buriram Educational Service Area Office 2. Thesis, Master of Education.

Jeamjurai, Ladda. (2003). Teacher’s Needs for Internal Supervision on Student–based Instruction in Schools under Bangkok Educational Service Area office 3, group1, Bangkok Noi. Master’s Project MED. Educational Administration Bangkok Graduate School, Srinakharinnawirot University.

Ministry of Education. (2008). Guidelines for Learning. Bangkok: Agurilcultural Cooperatives.

Pleeklam, Uthai. (2002). Problems and Needs Internal Supervision Performance in Primary Extension Schools under Loei Primary Education Office. Thesis, Master of Education. Educational Administration, Loie Rajbhat institute.

Priyaporn, Wonganutararoj. (2005). Academic Affairs Administration. Bangkok: Phim Dee Printing.

Sanannam, sriphen. (2000). Need for Internal Supervision of Teacher the Lower Secondary Education Level in Primary Extention Schools under Municipal Education Office 7. Thesis M.Ed. (Educational Administration ) Phitsanulok: Graduate School, Phiboonsongkhram Rajbhat institute.

Saowapa, Siripong. (2004). Needs for Instructional Supervision in Primary Schools in Klang District under Rayong Educational Service Area Office 2. Thesis Master of Education. Primary Education, Burapha University.

Traiyutharong, Chutima. (2006). Need for Instructional Supervision of Teachers in Sutharat School Network, Chonburi. Thesis, Master of Education, Educational Administration, Graduate School, Burapha University.