ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนของครูประจำการที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพการสอน

Main Article Content

สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนของครูประจำการที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพการสอน 2) เพื่อศึกษาแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพการสอนของครูประจำการที่มีผลจากการได้รับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูประจำการสังกัสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจำนวน 15 เขต แต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้1. ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนของครูประจำการที่ส่งผลต่อแรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพการสอน 1.1) ช่องทางสื่อสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอน พบว่า มากที่สุด คือ หนังสือ ตำรา วารสาร งานวิจัย 1.2) ช่องทางการได้รับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนจาก พบว่า มากที่สุด คือ หนังสือ ตำรา วารสาร งานวิจัย 1.3) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนประเภทที่นำ ไปใช้ประโยชน์กับนักเรียน พบว่า มากที่สุด คือ หนังสือ ตำรา วารสาร งานวิจัย รองลงมา 1.4) ช่องทางการับสารสนเทศใดที่ได้รับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนที่ชัดเจน พบว่า มากที่สุด คือกิจกรรม ได้แก่ การอบรมสัมมนาและการจัดนิทรรศการ 1.5) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนประเภทที่มีรูปแบบการเผยแพร่ที่น่าสนใจ พบว่า มากที่สุด คือโทรทัศน์ครู (Teacher TV)1.6) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนที่ได้รับแล้วทันตามเวลากำหนด พบว่า มากที่สุด คือ โทรทัศน์ครู (Teacher TV) 1.7) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนที่ได้รับแล้วใช้ถ้อยคำเข้าใจง่าย พบว่า มากที่สุด คือบุคคล ได้แก่ การถาม-ตอบ ครู ศึกษานิเทศ 1.8) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนที่สามารถชักจูงและเป็นแรงบันดาลใจที่พัฒนาตนเองด้านการสอน พบว่า มากที่สุด คือ โทรทัศน์ครู (Teacher TV) 1.9) ความต้องการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนจากช่องทางที่มีความสะดวกในการรับสารสนเทศ พบว่า มากที่สุด คือ หนังสือ ตำรา วารสาร งานวิจัย 1.10) ช่องทางการรับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนที่คิดว่าควรมีการเพิ่มเติมและปรับปรุง พบว่า มากที่สุด คือ อินเทอร์เน็ต


2. แรงบันดาลใจในการพัฒนาศักยภาพการสอนของครูประจำการที่มีผลจากการได้รับสารสนเทศด้านนวัตกรรมการสอนในการพัฒนาศักยภาพของครู, สามารถนำสารสนเทศด้านนวัตกรรมในการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการวิจัย, การพัฒนาสื่อ และ/หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Kunyarat Husaro (2000). A study of getting information relating to studying in the Bachelor’s degree (Quotas) of Mahasarakham University of guidance teacher of Secondary School, Department of Education, Educational Area 10. Independent Study of the Master of Arts. Mahasarakham: Library and Information Science, Mahasarakham University.

Chakapong Ngamsanga. (2000). Receiving information relating to drugs of workers in crushing plant in Khonkaen. Thesis of the Master of Arts. Mahasarakham: Library and Information Science, Mahasarakham University.

Chaweewan Koohapinant (1999). Reading and encouraging reading. Bangkok: Silapabannakarn.

Boonchom Srisa-ard. (2002). Preliminary research. 7th Edition. Bangkok: Suwiriyasarn

Wilapan Nuansingha (2002). Teaching and learning management that focuses on instructors under Sakon Nakorn Primary Educational Service Area Office. Thesis of the Master of Arts. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Weerachat Supunyo (1989). Dissemination of knowledge of basic economics for the women in the region. Thesis of the Master of Education. Bangkok: Chulalongkron Unidervisity.

Institute for Development of Teacher and Educational Personals (2007). Strategic development of teachers and educational personnel 2006-2008. Bangkok: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education.

Sujira Thongngam (2004). Promoting information literacy to students in schools that teach the grade 3 and grade 4 under Roi Et Educational Service Area Office. Thesis of the Master of Arts. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Busabong (2007). Organizing information literacy activities in Muang Kalasin Schools, Muang District, Kalasin Province under Kalasin Educational Service Area Office Area1. Thesis of the Master of Arts. Mahasarakham: Mahasarakham. Library and Information Science, Mahasarakham University.

Office of the Education Council (2004). Strategic education reform proposal/ Education reform commission. Bangkok.

Arpirom Chinno (2008). “Promotion of receiving health information on knowledge and behavior of citizens in Kalasin province in 2008”. Health system research and development journal: Kalasin, Consumer Protection Group, Public Health Office of Kalasin.

Udomsak Manusilk (1991). Relationship between perception of educational innovation from materials and the level of adoption of educational innovation of secondary school teachers in Kalasin Province. Thesis of the Master of Arts. Mahasarakham: Mahasarakham. Library and Information Science, Mahasarakham University.