การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

Main Article Content

อัตพร อุระงาม
สาวิตรี รตโนภาสสุวรรณลี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหาร งานวิชาการของสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการ ของสถานศึกษาและ 3) พัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สำนักเขตพื้นที่ศึกษาการศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรง คุณวุฒิประเมินความเหมาะสม จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 105 คน และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีตำ แหน่งทางวิชาการ คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26-0.74 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สำนักเขตพื้นที่ศึกษาการศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 มีองค์ประกอบจำนวน 7 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรศึกษา จำนวน 4 ตัวชี้วัด 2) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จำนวน 4 ตัวชี้วัด 3) ด้านการวัดผลและประเมินผล จำนวน 2 ตัวชี้วัด 4) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา จำนวน 3 ตัวชี้วัด 5) ด้านการนิเทศการศึกษา จำนวน 3 ตัวชี้วัด 6) ด้านการแนะแนวการศึกษา จำนวน 3 ตัวชี้วัด และ 7) ด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำนวน 3 ตัวชี้วัด 2. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการ มีสภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3. แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สำนักเขตพื้นที่ศึกษาการศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNImodified) 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการแนะแนว และด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามลำดับ ซึ่งมีแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ดังนี้ ควรนำผลการนิเทศไปใช้วางแผนการทำงาน หรือแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง สถานศึกษาควรมี การจัดระบบการแนะแนวทางวิชาการ ด้วยการประชุม แลกเปลี่ยน เสนอแนะสร้างปฏิทินการทำงาน ควรจัดระบบโครงสร้างองค์กรเพื่อรองรับระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ศึกษาหลักสูตรแกนกลางให้ชัดเจน ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและนำไปใช้กับนักเรียนการพัฒนาระบบครูพี่เลี้ยงเพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านการทำวิจัยสำหรับครูผู้สอนโดยการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้เรื่องการทำวิจัย ผู้บริหารควรกำหนดระเบียบ การวัดผลประเมินผลของสถานศึกษาการติดตามงาน ครูควรพัฒนาตนเองในด้านเทคนิคการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการอบรมสัมมนา พัฒนาโดยใช้สื่อ เอกสารวีดิทัศน์ เป็นต้น


ผลการประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้ของแนวทางอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การบริหารสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชัชฏาภรณ์ ไชยฤทธิ์. (2554). ปัญหาและแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตอำเภอแกลง สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชุมศักดิ์ อินทรรักษ์. (2551). การบริหารงานวิชาการ. ปัตตานี: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.

นิตยา พูลแสง. (2554). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญเพ็ง กุละนาม. (2550). รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนจัดการศึกษาภาคบังคับสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

รุ่งชัชดาพร เวหชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สายทอง พรมมา. (2554). สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุกัน เทียนทอง. (2546). การวิจัยในชั้นเรียนแบบหน้าเดียว, วารสารวิชาการ. 6(6) 29-30.

สุณิสา ถันชนนาง. (2555.) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาลแหลม ฉบัง 1 จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ:ภาพพิมพ์.

Smith, A. K. (2006). Information of Law Student. New York: Kidney Notes, 57(2): 65-66 ; Feb.

Piercy, G.E. (2007). Illinois secondary Scholl teachers of 1988-99 introduction year activities, Dissertation Abstracts International. 51(08): 2950-51-A.