การพัฒนาแนวทางการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4

Main Article Content

พัชรินทร์ ยืนนาน
ธรินธร นามวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 2. ศึกษาปัญหาการบริหารการงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 3. เปรียบเทียบการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ตามขนาดของสถานศึกษาและตำแหน่ง 4. เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ประชากรจำนวน 156 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 224 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 112 คน และ หัวหน้างบประมาณ จำนวน 112 คน รวมทั้งสิ้น 224 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของการบริหารการควบคุมภายในด้านงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามขนาดโรงเรียน โดยทดสอบค่า t – test


ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารการการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีปัญหาอันดับสูงสุด ได้แก่ ด้านการวางแผนงบประมาณ ( =4.33) และด้านการบริหารสินทรัพย์ (x̄ = 4.16) รองลงมา ได้แก่ ด้านการตรวจสอบภายใน (x̄ = 4.07) ด้านการรายงานทางการเงิน และผลการดำเนินงาน (x̄ = 3.94) การคำนวณต้นทุนผลผลิต (x̄ = 3.84) ด้านที่มีปัญหาในระดับต่ำสุด ได้แก่ การจัดระบบการจัดซื้อ 2. โรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดใหญ่มีสภาพการปฏิบัติงานการบริหารงบประมาณแตกต่างกันในด้านการวางแผนงบประมาณ ด้านการคำนวณต้นทุนผลผลิต ด้านการบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ และด้านการควบคุมภายในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 นอกนั้นไม่พบความแตกต่าง 3. แนวทางการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 (1) ด้านสภาพแวดล้อมของการควบคุมผู้บริหารควรชี้แจง ทำความเข้าใจกับบุคลากรในการจัดโครงสร้างการบริหารและกำหนดสายงานการบังคับบัญชาให้มีความเข้าใจตรงกันผู้บริหารต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากร (2) ด้านการบริหารความเสี่ยง มีการกำหนดภารกิจและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์งานและปัญหาเพื่อร่วมกันประเมินความเสี่ยงควรมีการกำหนดให้ผู้รับผิดชอบของแต่ละกิจกรรมรายงานผลการปฏิบัติเมื่อแล้วเสร็จ (3) ด้านกิจกรรมการควบคุมจัดทำคำสั่งมอบหมายงานให้บุคลากรปฏิบัติอย่างชัดเจน (4) ด้านสารสนเทศและการสื่อสารจัดระบบสารสนเทศและการสื่อสารเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่มีคุณภาพและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ มีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำ (5) ด้านการติดตามประเมินผล การระดมความคิดเห็นให้ทราบถึงปัญหาข้อบกพร่องเพื่อนำมาหาแนวทางการแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาต่อไป กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปรับปรุง และหาแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การบริหารจัดการงบประมาณ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ชมาภรณ์ ศรีสุข. (2544). แนวทางการพัฒนาระบบควบคุมภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา.

ดีใหม่ อินทรพาณิชย์. (2551). สภาพปัญหาการดำเนินการควบคุมภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นฤมล หลักคำ. (2554). การบริหารการควบคุมภายในด้านงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สิวีระยาสาส์น.

ปาริชาติ อุ่นเรือน. (2551). การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานระบบการควบคุมภายในด้านการเงิน การบัญชี และการพัสดุของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

พนารัตน์ วสุวัฒนศรี. (2551). แนวทางการดำเนินงานการควบคุมภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4. (2553). คำรับรองการปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2553. อุดรธานี: สำนักงาน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4. (2552). คู่มือและแนวทางการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 4. อุดรธานี: สำนักงาน.

โสวรรณี แหล่งหล้า. (2553). การพัฒนาระบบการควบคุมภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุบลราชธานีเขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.