การพัฒนารูปแบบการบริหารสำหรับโรงเรียนอนุบาลต้นแบบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

Main Article Content

ณัฐพล เนื่องชมภู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและ ความต้องการในการบริหารโรงเรียนอนุบาลต้นแบบสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสำหรับโรงเรียนอนุบาลต้นแบบสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ในการศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการการบริหารโรงเรียนอนุบาลต้นแบบสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีเชิงระบบเป็นองค์ประกอบของรูปแบบการบริหาร ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ประชากรได้แก่ โรงเรียนอนุบาลต้นแบบทุกโรง จำ นวน 183 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารโรงเรียนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ชนิดประมาณค่า 5 ระดับ มีการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยมีค่า IOC ระหว่าง 0.50 ถึง 1.00 หลังจากนั้นจึงนำไปหาค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีของครอนบัค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ Priority Needs Index (PNI) เพื่อกำหนด ค่าดรรชนีความต้องการจำเป็นเพื่อสร้างเป็นรูปแบบ หลังจากนั้นจึงนำร่างรูปแบบไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน เป็นผู้ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ปรากฏว่ามีค่าความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ที่ระดับมากที่สุดทั้งสองประเด็น


ผลการวิจัยปรากฏว่า ด้านสภาพปัจจุบันและความต้องการเกี่ยวกับองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารยังคงมีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบเหมือนกัน ได้แก่ ปัจจัยนำเข้ากระบวนการ และผลผลิต รูปแบบที่พัฒนาขึ้นปรากฏรายละเอียดดังนี้


ด้านปัจจัยนำเข้า ทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ จัดบุคลากรตรงตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล คัดเลือก ด้วยวิธีการที่หลากหลายทรัพยากรวัตถุ ได้แก่ โรงเรียนมีทะเบียนควบคุมวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถตรวจสอบได้ และ มีวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอกับความต้องการในการปฏิบัติงาน ทรัพยากรการเงิน ได้แก่ มีการบริหารจัดการ การเงินอย่างโปร่งใส และมีการจัดทำงบประมาณที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สารสนเทศ ได้แก่ มีการพัฒนาระบบสารสนเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว ระบบสารสนเทศมาจากข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 


ด้านกระบวนการ ปรากฏว่า กระบวนการบริหาร ได้แก่ ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารงาน มีการควบคุมตรวจสอบติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ โรงเรียนจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีและการอยู่ค่ายพักแรม และ ครูผลิตสื่อการเรียนการสอนเพียงพอกับความต้องการ กระบวนการพัฒนา ได้แก่ นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าและหาคำตอบได้ด้วยตนเอง และ พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน กระบวนการบริการ ได้แก่ มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารการดำเนินงานของนักเรียน มีการประสานและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับเขตพื้นที่บริการ


ด้านผลผลิต ปรากฏว่า พัฒนาการด้านต่างๆ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาสมรรถนะผู้เรียน ได้แก่ นักเรียนทุกคนเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ตรงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น และ นักเรียนมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านต่างๆ ได้แก่ มีการนำผลจากการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์มาปรับปรุงคุณภาพนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ และ นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ความคาดหวังเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม ได้แก่ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และ ค่านิยมเป็นข้อตกลงร่วมกันของบุคลากรที่ต้องปฏิบัติตามให้บรรลุวัตถุประสงค์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

นงลักษณ์ เรือนทอง. (2550). รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พชร สันทัด. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำ เร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฏหมาย (ก.ค. – ธ. ค .2554) 106-125

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการดําเนินงานขององค์คณะบุคคลและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหง

ประเทศไทย

สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ และ ธิดา พิทักษ์สินสุข. (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย: ตามแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลีย. กรุงเทพฯ: สำ นักงานสภาเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำ เป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bartol, M. K. and Certo, S.C. (2000). Modern management: Diversity, Quality,Ethics and the Global management. 8th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Barzelay, M. (2001). The New Public Management, California: University of California Press.

Blanchard, K. H. and Johnson, D. E. (1996). Management of Organization Behavior. 7th Ed. Englewood cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Caron, E. A., & McLaughlin, M. J. (2002). Indicators of beacons of excellence schools: What do they tell us about collaborative practices? Journal of Educational and Psychological Consultation.

Cassiday, J.S. (2008). A University Laboratory school for the 21st Century. Journal of Evaluation and Research, Volumn 5: 43-48

David, S. (2007). Normal Model and Laboratory schools: Egal Harian education University of central Oklahoma. Journal of Philosophy and history of education. Volumn57: 85-90.