ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ต่อการให้บริการของงานวิชาการและวิจัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ต่อการให้บริการของงานวิชาการและวิจัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จำนวน 70 คนคัดเลือกโดย วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling technique) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม และตอนที่ 2 แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ที่มารับบริการจากหน่วยงานงานวิชาการและวิจัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้แก่ ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ()=4.45 S.D=0.03)
ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ()=4.38 S.D=0.03) ด้านระยะเวลาในการดำเนินการ ()=4.37 S.D=0.07) และด้านบุคลากรที่ให้บริการ ()=4.34 S.D=0.07) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
กชกร เป้าสุวรรณ และคณะ. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง ความคาดหวังและความพึงพอใจการมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์พิษณุโลก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
กุลฉัตร กิ้มซ้าย. (2563). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการปฏิบัติงานด้านการให้บริการของคณะวิศวกรรมศาสตร์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
โกมล ปานแจ่ม. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าต่อการให้บริการของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ประจวบคีรีขันธ์: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาประจวบคีรีขันธ์.
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. (2565). สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2565, จาก URL. https://edu2.rmutsb.ac.th/content/70
คณิต ดวงหัสดี. (2538). สุขภาพจิตกับความพึงพอใจในงานของข้าราชการตํารวจชั้นประทวนในเขตเมืองและเขตชนบทของจังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
คมสัน อินทเสน และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลหว้า อำเภอเวียง จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระ. หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2549). การจัดการและการตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชะเอิ้น พิศาสวัชรินทร์. (2553). ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่มีต่อการให้บริการงานกิจการนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2552). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฐพัชร์ ล้อประเสริฐ. (2549). คู่มือสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
บังอร รัตนมณี และ กันยา เจริญศักดิ์. (2553). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่องานบริการการศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่1(ฉบับที่ 1), (ม.ค.-มิ.ย.2553): 21-28.
ภาณุเดช เพียรความสุข และคณะ. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บิรการของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. (สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
เมธาวี เนตรวิริยะกุล วัลลภา วงศ์ศักดิรินทร. (2561). ความพึงพอใจของบุคลากรและนักเรียนที่มีต่อการให้บริการของสำนักงาน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Sipakorn University (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ) ปีที่ 11, (ฉบับที่ 3) (ก.ย.-ธ.ค.2561): 1695.
วัลลภ สงวนศักดิ์. (2554). คุณภาพการให้บริการงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัย สุโขทัย ธรรมาธิราชตามการรับรู้ของนักศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย.
วิชัย ธิโวนา. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิรุฬ พรรณเทวี. (2542). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงาน กระทรวง มหาดไทยในอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บริษัท ธีรฟิล์ม และไซเท็ก จำกัด.
สมบัตร บารมี. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทมหพันธ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด (มหาชน). รายงานการวิจัยคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
สรชัย พิศาลบุตร. (2551). การวิจัยตลาด. กรุงเทพ: บริษัทวิทยาพัฒน์.
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. (2565) สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565, จาก https://register.rmutsb.ac.th/th/
สุกัญญา สีลาดเลา. (2557). แรงจูงใจและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ฮานา เซมิคินดักเตอร์(อยุธยา) จำกัด. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุภัทรา มิ่งปรีชา. (2550). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาลแพร่. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารและพัฒนา, ประชาคมเมืองและชนบท, มหาวิทยาลัยราชภฏอุตรดิตถ์.
แสงแข โคละทัต อัจฉราวัฒนาณรงค์ และจารุวรรณ สกุลคู. (2555). ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการให้บริการของกองบริการการศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
อุไรวรรณ สมบัติศิริ. (2557). การศึกษาสภาพปัญหาการให้บริการของสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
Applewhite, P. B. (1965). Organization Behavior Englewook Cliffs. New York: Prentice Hall. Etzel, M.J. (2014). Marketing (12th ed.). New York: McGraw-Hill/lrwin.
Corral, S And Brewerton, A. (1999). The Needs Professional’s Handbook: Your Guide to Information Service Management. London: Library Association Publishing.
Lewis, R.C. and Booms, B.H. (1983). The marketing aspects of service quality. In Berry, L., Shostack, G. and Upah, G. (Eds). Emerging perspectives on Services Marketing, American Marketing Association. Chicago, IL.