รูปแบบการพัฒนาครูด้านกระบวนการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มหาสารคาม เขต 1

Main Article Content

ชญาภา น่าบัณฑิตย์
ประภัสสร ปรีเอี่ยม
ธีระวัฒน์ เยี่ยมแสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบกระบวนการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูประถมศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนากระบวนการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครูประถมศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านกระบวนการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ในศูนย์พัฒนาคุณภาพเกิ้งลาดพัฒนา เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 9 โรงเรียนๆ ละ 2 คน รวม 18 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจก่อนหลังการอบรม ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ นำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์และการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า


1. องค์ประกอบกระบวนการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูประถมศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย การระบุประเด็นปัญหา การรวบรวมข้อมูล การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล การตั้งสมมุติฐาน การสรุปอ้างอิง และการตัดสินใจ


2. รูปแบบการพัฒนาครูด้านกระบวนการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1 ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ หลักการ วัตถุประสงค์ วิธีการพัฒนา และการวัดและประเมินผล


3. การประเมินรูปแบบการพัฒนาครูด้านกระบวนการสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1โดยการจัดอบรม ผลการประเมิน พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่ความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่าเกณฑ์การอบรมที่กำหนดไว้ และสามารถนำ ความรู้ที่ได้รับไปวางแผนจัดการเรียนรู้และสามารถเขียนแผนการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Academic Department, Ministry of Education. Concluded Report of the 5th Workshop in Educational Research titled “The Application of Research Findings in Educational Research, ” Bangkok: 1993.

Areerat, Pisootta. Development of Learning Reform Model by Computer. Doctor of Philosophy Thesis in Computer Science, Computer Science Department, Graduate School, King Mongkuts Institute of Technology North Bangkok.

National Educational Commission. Learning Reform for Student-Centered. Bangkok: The Office of National Educational Commission, 2000.

Netpisanwanich, Woranuch. Development of Training Model through Case Study Coo[erative Learning for Developing the Professional Nurse’s Critical Thinking. Doctor of Education Thesis in Educational Technology, Audio Visual Department, Chulalongkorn University, 2001.

Rodrangka, Wantipa. An Evaluation of Process Skill and Problem Solving in Bangkok. Institute of Academic Quality Development (AD), 1997.

Sangkaew, Penjan. A Research Report of Rajahat Institute Students’ Potentiality. Pechaboon: Faculty of Management Science, Pechaboon Rajabhat Institute, 2002.

Tanhikon, Boobpachat. Electrical Media in Cooperative Learning Context. [Online] 2003 from htpp: //www.ku.ac.th/emagazine/may/47/it/ ecollorative.html [1 September 2005]

Trakoonsarit, Warapon. A Presentation of Web Instructional Model through Project Work Learning for Team Learning of King Mongkuts Institute of Technology Thonburi. Doctor of Education Thesis in Educational Technology, Audio Visual Department, Chulalongkorn University, 2002.

Wonganutarote, Preeyapon. Vocational Education Technique and Instruction. Bangkok: Pimdee. Dechtongpong, Suyanee. The Effect of Cooperative Communication Media on Meta-cognition and English Writing between Thai Students, and Chinese Students in University Level. Doctor of Education Thesis in Educational Technology, Audio Visual Department, Chulalongkorn University, 2002.

Hsiao, Jy Wana Daphne Lin. 1996. CSCL Theories. Available online at http: //www. edb.utexas.edu/ csclstudent/Dhsiao/theories.html [2003, December 15]. Johnson. D.W. and Johnson, F. Joining together: Group theory and group skills. (4th ed). Engle wood cliffs, NJ: Prentice – Hall, 1994 .

Kirkpatrick, Denise. 2001. Promoting online collaboration. Available online at http: //www.unescobkk.org.ODLdoc/kirkp-online%20collaboration.rtf [2004, May 15].

Slavin, R.E. Cooperative Learning. N.P.: Massachusette Allyn and bacon, 1990.

Tinzmann, M. B. 1990. What is the collaborative classroom. Available online at http: //www.ncrel.org./sdrs/areas/rpl_esys/collab.htm [2004, May 15].