ผลของการฝึกปฏิบัติโปรแกรมการเจริญสติ-สัมปชัญญะเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของพยาบาลโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของพยาบาลกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังการฝึกปฏิบัติโปรแกรมการเจริญสติ-สัมปชัญญะ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของพยาบาลกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกปฏิบัติโปรแกรมการเจริญสติ-สัมปชัญญะกับพยาบาลกลุ่มควบคุมที่ได้รับโปรแกรมข้อสนเทศธรรมศึกษา 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของพยาบาลกลุ่มทดลองหลังการฝึกปฏิบัติโปรแกรมการเจริญสติ-สัมปชัญญะกับระยะติดตามผล 4) ศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยต่อการฝึกปฏิบัติโปรแกรมเจริญสติ-สัมปชัญญะในกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจำนวน 70คนซึ่งมีความสมัครใจในการร่วมโครงการวิจัย โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองเข้าอบรมโปรแกรมการเจริญสติ-สัมปชัญญะ จำนวน 35 คน และกลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมข้อสนเทศธรรมศึกษา จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการเจริญสติ-สัมปชัญญะ แบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและ แบบวัดความคิดเห็นต่อการฝึกปฏิบัติโปรแกรมเจริญสติ-สัมปชัญญะ มีความเที่ยงของแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค เท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) หลังการทดลองพยาบาลกลุ่มทดลองมีความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01 2) หลังการทดลอง พยาบาลกลุ่มทดลองมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่าพยาบาลกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) พยาบาลกลุ่มทดลองหลังการทดลองและระยะติดตามผล 3 สัปดาห์มีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ 4) ความคิดเห็นของกลุ่มทดลองต่อการฝึกปฏิบัติโปรแกรมเจริญสติ-สัมปชัญญะอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
คณะกรรมการโรงการจัดสร้างพระไตรปิฎกนิสสยะ .(2555).พระไตรปิฎกนิสสยะ ฉบับพิเศษพระสุต ตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหสติปัฏฐานสูตร กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์น ไทย การพิมพ์.
คณะกรรมการร่างข้อบังคับและระเบียบสภาการพยาบาล. ( 2540 ) .พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. นนทบุรี: บริษัท เดอะ เบสท์ กราฟฟิค แอนด์ ปรินท์ จำกัด.
จำเนียร ช่วงโชติ.(2549). เอกสารประกอบการสอนการเจริญสติ-สัมปชัญญะเพื่อพัฒนาตนพัฒนางาน . กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์.
ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์. (2551). AQ พลังแห่งความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่3) กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์บิสคิส.
พระไตรปิฏกฉบับประชาชน เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษาครบ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 . กรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์เผยแพร่ 2550.
ปิยพร นิสสัยกล้า.( 2550 ):ผลการฝึกการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวต่อความเครียด ความเจ็บปวด และพฤติกรรมความเจ็บปวดในระยะที่ 1 ของการคลอด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทัณฑิกา เทพสุริวงศ์. (2550): ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการทำงาน ความสามารถในการเผชิญปัญหาและอุปสรรค และความสุขในการทำงาน ศึกษาเฉพาะกรณีพยาบาลประจำการโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. งานวิจัยส่วนบุคคล สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพรรณี เขียวชอุ่ม.(2552): การปฏิบัติกรรมฐานที่มีผลต่อความเครียด เชาวน์อารมณ์ และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ญาณิกา สวัสดิพงศา .(2549): การพัฒนาเชาว์อารมณ์ เหตุผลเชิงจริยธรรม และความสามารถในกาเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ด้วยการฝึกสมาธิ .วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดุจฤดี คงสุวรรณ์.(สิงหาคม 2543) พัฒนาการสังคมไทย สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2556,จากhttp://www.baanjomyut.com/library_2/development_of_society/11.html สภาการพยาบาล .สิทธิผู้ป่วย.สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2556 จาก http://www.tnc.or.th/ law/page-5.html
Stoltz, Paul G.(1997) Adversity Quotient:Turning Obstacles into opportunities. New York: John Wiley & Sons.
Gilbert Goh .(2010) how-to-raise-your-adversity-quotient-during-unemployment. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2556 จาก http://www.transitioning.org
Hannes Leroy, Fredorik,Fredorik Anseel,Nicoletta G. Dimitrova,Luc Sels. (2012) Mindfulness,authentic functioning and work engagement: A growth modeling approach Available .สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2556 จาก http://www. sciencedirect.com