แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3

Main Article Content

อรทัย คล้ายสอน
จตุพร เพ็งชัย
ยุพาศรี ไพรวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึ่งประสงค์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 และศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนที่ปฏิบัติการสอนโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ เครจซี่ และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำ นวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึ่งประสงค์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึ่งประสงค์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้อเท่ากับ 0.67 - 0.85 และหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 ศึกษาจากโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครู ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครู ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียนรู้ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการนิเทศการศึกษา และแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรมีการประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูคณะกรรมการสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาจากวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสถาบันศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน ควรจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหารและครูเพื่อกำหนดระเบียบแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ควรจัดให้มีการอบรมครูเกี่ยวกับการสร้าง และการใช้นวัตกรรมด้วยวิธีที่หลากหลาย ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ควรจัดหาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ควรดำเนินการสำ รวจแหล่งเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และท้องถิ่น และด้านการนิเทศการศึกษา ควรปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2545). รายงานวิจัยรูปแบบการบริหารงานวิชาการในเขตพื้นทีการศึกษาในห้าจังหวัดชายแดนใต้. ม.ป.ท.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาน์ส. รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์. (2546). หลักการบริหารการศึกษา = Education administration. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คส์พอยท์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (2558). แผนพัฒนาการศึกษาสี่ปี. ชัยภูมิ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการบริหารจัดการการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อำรุง จันทวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โครงการผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Glickman, Carl D. (1985). Supervision of Instruction: A Development Approach. Massachusetls: Allyn and Bacon Inc, 1985.