รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่ 11

Main Article Content

วารุณี งอยผาลา
วัฒนา สุวรรณไตรย์
ไชยา ภาวะบุตร
วิจิตรา วงศ์อนุสิทธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของผู้บริหารสตรีและ 3) ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) ดำเนินการ 3 ระยะคือ ระยะที่หนึ่งการศึกษารูปแบบ เป็นการศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือผู้บริหารสตรีและครูโรงเรียนละ 1 คน ปีการศึกษา 2556 ในเขตตรวจราชการที่ 11 รวม 186 คน ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่สองการสร้างและการยืนยันรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี และระยะที่สามการนำไปทดลองใช้ และสรุปผลการทดลองใช้ กลุ่มทดลองเป็นผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขต ตรวจราชการที่ 11 มี องค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบและมี 14 องค์ประกอบย่อย ดังนี้คือ 1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์มี 2 องค์ประกอบย่อยคือ การเป็นต้นแบบนำทางและความท้าทายในกระบวนการ 2) การกระตุ้นทางปัญญา มี 2 องค์ประกอบย่อย คือการส่งเสริมสนับสนุนให้ใช้ความรู้ความสามารถและกระบวนการบริหารงานและกระบวนการตัดสินใจ 3) การสร้างแรงบันดาลใจ มี 2 องค์ประกอบย่อยคือ การให้คำแนะนำและสร้างแรงจูงใจและการให้กำลังใจสมาชิก 4) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มี 2 องค์ประกอบย่อยคือ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและการให้คำปรึกษาและสนับสนุน 5) การพัฒนาตนเอง มี 3 องค์ประกอบย่อยคือ คุณลักษณะของผู้บริหารสตรี ทักษะสัมพันธ์และการสื่อสาร การอบรมวิจัยเพื่อพัฒนางาน และ 6) การเป็นผู้นำทางวิชาการ มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ การวางแผนพัฒนางานวิชาการ การบริหารจัดการหลักสูตร และการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี มีตัวชี้วัดขององค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรี รวมทั้งสิ้น 60 ตัวชี้วัด 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการ สื่อและแหล่งเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล กระบวนการพัฒนา มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วันระยะที่ 2 ศึกษาดูงานสถานศึกษาดีเด่น ระยะที่ 3 ฝึกปฏิบัติจริง 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง เป็นเวลา 18 ชั่วโมง และระยะที่ 4 การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล 3) ผลของการตรวจสอบประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีพบว่า ประสิทธิผลหลังการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสตรีสูงกว่าก่อนการทดลอง แสดงว่ารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 11 มีประสิทธิผล 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กัลยา กิตติธาดากุล. (2544). การยอมรับบทบาทของผู้นำ สตรีด้านการปฏิบัติงานในองค์การราชการจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ฉันทวรรณ ยงค์ประเดิม. (2545). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับบทบาทสตรีในการเป็นผู้นำทางการบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดุสิต สมศรี. (2553). การพัฒนาภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. เข้าถึงได้จาก http://www.surasitkalasin2.com/index.php?lay

บุญโสม ดีเลิศ. (2550). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1.วิทยานิพนธ์ ค.ม. สุรินทร์.มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ประวิตร โหรา. (2551). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารหญิงตามทัศนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนราชมงคลรัตนโกสินทร์. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณดี เกตแก้ว. (2552). การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของผู้นำสตรีทางการศึกษาในภาคใต้. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2552). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาแบบยั่งยืน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุดาวรรณ ศรีสิงห์พันธุ์. (2549). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อุดม สิงโตทอง. (2550). การศึกษาภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2.วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Coleman, Marianne. (2000). “The Female Secondary Headteacher in England and Wales: Leadership and Management Styles”. Educational Research. 42(1):13-27, January.

Delf, George:&Smith, Bryan. “Strategies for Promoting Self Developmen”. Emerald Backfiles. 494-501,2007.

Heller, Trudy. (1982). Women and Men as Leaders: in Business, Educational and Social Service Organizations. New York: Praeger.

Oplatka, Lzhar. (2007). “Women in Educational Administration within Developing Countries: Towards a New International Research Agenda”. Journal of Educational Administration. 44(6): 604-624. Retrieved January 20 , 2007, from http:// www.emeraldinsight.com.

Pedler, Mike. (1988). “Applying Self-Development in Organization.” ICT. 19-22, March-April.