ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะประจำสายงานกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะประจำสายงานของนักวิชาการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะประจำสายงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) สร้างสมการพยากรณ์ของสมรรถนะประจำสายงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักวิชาการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 365 คน จาก 8 สถาบัน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามแบบจัดลำดับความสำคัญ (Ranking Questionnaire) และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่.31 ถึง.86 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยวิธีแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise)
ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1. นักวิชาการศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะประจำสายงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำ ดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการคิดวิเคราะห์ (X1) ด้านความเข้าใจในองค์กร (X4) ด้านการดำเนินการเชิงรุก (X2) ด้านความถูกต้องของงาน (X3) ด้านการมองภาพองค์รวม (X5) ตามลำดับ และมีความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ ด้านความตรงต่อเวลา รองลงมาคือด้านปริมาณงาน และด้านคุณภาพของงานตามลำดับ
2. สมรรถนะประจำสายงานมีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ภาคะวันออกเฉียงเหนือ คือ สมรรถนะประจำสายงานด้านความถูกต้องของงาน (X3) ด้านการดำเนินการเชิงรุก (X2) ด้านการความเข้าใจในองค์กร (X4) และด้านการคิดวิเคราะห์ (X1) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ.763.726.725.716 ตามลำดับ
3. ตัวแปรที่พยากรณ์ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของนักวิชาการศึกษา ได้ดีที่สุด คือ สมรรถนะประจำสายงานด้านความถูกต้องของงาน (X3) สมรรถนะประจำสายงานด้านการคิดวิเคราะห์ (X1) สมรรถนะประจำสายงานด้านความเข้าใจในองค์กร (X4) และสมรรถนะประจำสายงานด้านการดำเนินการเชิงรุก (X2) โดยเขียนสมการ ได้ดังนี้
สมการในรูปคะแนนดิบ
Y/ = .483 + .326 X3 + .224 X1 + .227 X4 + .129 X2
และสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z/Y = .331 Z3 + .223 Z1 + .213 Z4 + .127 Z2
Downloads
Article Details
References
Armart, S. (2007). The relationships between Good Memberships of the Organization and Work Performance Effectiveness of Saving and Credit Cooperative Accountants in Thailand. Master of Accountancy, Mahasarakham: Mahasarakham University.
Chansiri, W. (2008). Developing Core Competencies of Supporting - Line Administrators at Public Universities. Doctor of Education, Mahasarakham: Mahasarakham University.
Chansirisira, P. (2011). Developing Administrate Competency. Mahasarakham: Mahasarakham University.
Charoenwongsak, K. (2006). Conceptual Thinking. 7th. Bangkok: Success Media.
Jamrog and Overholt (2004). Measuring HR and Organizational Effectiveness. Employment Relations Today. 31 (2) : 33–45 ; July.
Jongjroen, V. (2008). Factors Related to the Performance Efficiency of Municipality Administration Organizations in Pathumtani Provice. Master of Public Administration in Local Government, Khon Kaen: Khon Kaen University.
McCann, J. (2004). Organizational Effectiveness: Changing Concepts for Changing Environtments. Human Resourc Planning. 27 (1): 43,48.
Office of the Civil Service Commission (2010). Competency Manual. Bangkok: P. A. Living Co.,Ltd.
Piriyathanalai, S and Thephasadin na Ayudhya, J. (2010). Competency Competency Understand - Usable- Practical. Bangkok: Signaturesolutions.
Pinitkarn, S. (2009). Reletionships between Core competency and Efficiency Performance of the Accountants in Excise Department. Mater of Accountancy, Mahasarakham: Mahasarakham University.
Plubkajorn, S. (2010). A Correlation Between the Result of Team Learning and Personnel Competency Development at Samitivej Sukhumvit Hospital. Master of Education, Bangkok: Ramkhamhaeng University.
Thongjub, C. (2009). Competency Model for Workforce Development in the Workplace. Master of Curriculum Research and Development, Bangkok: King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.