รูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ โดยการศึกษาความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รักษาการในตำแหน่งหรือผู้รักษาราชการแทน 181 คน และครู 181 คน สัมภาษณ์โรงเรียนต้นแบบ 3 โรงเรียน และวิเคราะห์องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ ประเมินองค์ประกอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน และประเมินคู่มือการใช้รูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน และขั้นตอนที่ 4 นำเสนอรูปแบบ โดยใช้วิธีการ FocusGroup จำนวน 30 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้มีความรู้ และความเชี่ยวชาญ ด้านรูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล มี 4 องค์ประกอบได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารงานทั่วไป
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล พบว่า รูปแบบประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ วิธีการบริหารตามรูปแบบ กระบวนการบริหารตามรูปแบบ การนำรูปแบบไปใช้ การประเมินผลการใช้รูปแบบ และประสิทธิผล ผลการประเมินคู่มือการใช้โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล พบว่า โดยภาพรวม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
4. ผลการนำเสนอรูปแบบและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็น เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Downloads
Article Details
References
Chatana Janbanjong. (2545). Education the Administration and Manage of Organization Local Government in Japan.Bangkok:Amarint printing and publishing Ltd, company public.
Pitan Puengtong. (2548). Propose policy to improve small school in the northest. Thesis Bachelor of education Department of Educational Administration Graduate School. Khonkan University,Khonkhan.
Boonchom Srisa-art. (2545). Preliminary research Edition 7: Suweeriyasarn,
Ratchapon Konchanrungrord. (2548). Tansamai school, Bangkok Sutthakarnpim Company.
Wiroad Juntasing. (2542). Administration small school of Award ceremony case study Banmookmunnon-udomsamakki School Nakornratchasrima Privince. Thesis Bachelor of Education. Mahasarakam University.
Tawatchai Prempree. (2542). Factor required of Administration, Bangkok Aksorn-thai Printer.
Teera Roojareun. (2550). Professional Management of Education. Education reform, Bangkok: Khawfang.
Somporn Faungroad. (2541). The importance in the Mission of school AdministrationPrimary, case study of Ud-taradid Province. Thesis Narasaun University, Or-rapin Sopchokchai.Management of Systems Search date 2 August.
G.E. Austin, D. Reynolds. (1990). Managing for improved school effectiveness: An international survey. school Organization 10, 2/3
Bower, M. (1997). Developing leader in a business. The mckinsey quarterly,: 4,14.
Jhon A. Herzog, (1990). Variables Contributing to Organizational Effectiveness: A Comparison Between National Exemplary Secondary Schools and Lutheran Secondary schools. (DAI 51/01//DA,: 2011.
Keeves,P.J. (1988). Educational research, methodology, and measurement: An international handbook. Oxford: Pergamon Press.
Mescon, M. H., Albert, M., & Feanklin.(1985). Mangement Individual and organizational elfectiveness ( 2nd ed). New York: Harper & Row.
Smith, E.W.et al. (1961).The education’s encyclopedia. New York: Prentice-Hall.