รูปแบบการบริหารงานบุคคลวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการบริหารงานบุคคลวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 2)เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 3)เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารบุคคลวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร การวิจัยได้ดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 2)การสร้างและปรับปรุงรูปแบบโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่ม และ 3)ประเมินรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จำนวน 242 คน ปรับปรุงรูปแบบโดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน ประเมินรูปแบบโดยการสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ 20 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสรุปการสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร มีสภาพปัญหาและความต้องการในการปรับปรุงงานการบริหารงานบุคคลในโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง สำหรับปัญหาที่สำคัญ คือ การเปรียบเทียบความต้องการบุคลากรในปัจจุบันและอนาคต บุคลากรได้รับค่าตอบแทนและรางวัลอื่นนอกเหนือจากเงินเดือนและมีการอบรมพัฒนาบุคลากรเมื่อเปลี่ยนงานใหม่ทุกครั้ง
2. รูปแบบการบริหารงานบุคคลของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1)การวางแผนงานบุคคล ได้แก่ การวางแผนงานบุคคลเชิงธุรกิจและใช้หลักการตลาดการจัดการที่เน้นปัจเจกบุคคลมากกว่าการจัดการแบบกลุ่มและการมีคู่มือการปฏิบัติงานของบุคลากร 2)การได้มาซึ่งบุคลากร ได้แก่ การใช้ระบบการสรรหาแบบเชิงรุก การใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับองค์กรอื่น3)การให้รางวัลและค่าตอบแทนได้แก่ การกำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ตามสมรรถนะการให้รางวัลและค่าตอบแทนที่สอดคล้องกับนโยบายหรือภารกิจหลักขององค์กรและการให้รางวัลและค่าตอบแทนตามคุณวุฒิ 4)การพัฒนาบุคลากร ได้แก่ การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร การพัฒนาบุคลากรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแนวใหม่และการพัฒนาบุคลากรมืออาชีพและผู้เชี่ยวชาญ5)การธำรงรักษาบุคลากร ได้แก่ การเสริมสร้างความสมดุลในชีวิต การจัดระบบสวัสดิการแบบยืดหยุ่นและการสร้างบรรยากาศการทำงานที่อบอุ่นและวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 6)การให้บุคคลพ้นจากงาน ได้แก่ การจัดระบบเครือข่ายทางวิชาการ การเป็นศูนย์ช่วยเหลือบุคลากรที่พ้นจากงานและ การจัดตั้งหน่วยพิทักษ์คุณธรรมของวิทยาลัย
3. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรพบว่ารูปแบบสามารถนำไปใช้ในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรได้มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นไปได้และประโยชน์อยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
Eisner, Thomas.(1979). Seminar. New York: McGraw-Hill.
Ketvalee Chalernpoj.(1998). hr of Srinakarintharaviroj University.Thesis Master of education. Kasetsart University.
Kittima Kawayawong. (2004). teacher opinions in hr management of private school Angthong Province.Thesis Master of education.Kasetsart University.
La-aeid Chamchan and team. (2001). the study of pattern of organizing of institution of education in PBRI. Bangkok: Ministry of public health.
Payom Wongsarasri.(1995). hr management 5th edition.Bangkok:faculty of Management Science Suan Dusit Rajbhat University.
Pratchaya Klapachan and Poda Butsutiwong. (2007). hr Management.Bangkok: khaofang
Samarn Atsavapoom. (2008). modern educational management: idea theary and Performance.3rd edition.Ubon Ratchathani:Ubonkitobsetpublisher.
Sompong Kasemsin.(1973). modern hr management. Bangkok:Thai Wattanapanich.
Tedchart Chaiyapong. (2003). the development of hr management of educational service area office. The dissertation of doctor s degree Naresuan University.
Wichit Srisa- arnt.(1982). hr management 2nd edition.Bangkok: Thai Wattanapanich.
Yupawal Mungboonmob. (2006). teacher expectation for hr management of private school in Lopburi education service school area.