การวิเคราะห์แนวคิดทางด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของปราชญ์ท้องถิ่น กรณีศึกษา: บาทหลวงโรแบรต์ โกสเต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของปราชญ์ท้องถิ่น: กรณีศึกษาบาทหลวงโรแบรต์ โกสเต ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาประวัติชีวิตและความเป็นมาของบาทหลวงโรแบรต์ โกสเต ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) วิเคราะห์แนวคิดทางด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยการวิเคราะห์เอกสารจากผลงานด้านการประพันธ์ จำนวน 13 เล่ม 3) ตรวจสอบและยืนยันแนวคิดทางด้านกาศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยวิธีตรวจสอบแบบสามเส้า จากงานการประพันธ์ ผู้ใกล้ชิดและบาทหลวงโรแบรต์ โกสเต ด้วยการสนทนากลุ่ม จำนวน 12 คน และ 4) นำเสนอแนวคิดทางด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของบาทหลวงโรแบรต์โกสเต ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 21 คน เพื่อเสนอเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
ประวัติของบาทหลวงโรแบรต์ โกสเต เป็นพระสงฆ์มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส เดินทางมาเพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเวลา 57 ปี เป็นบุคคลที่มีชีวิตเรียบง่ายและสมถะ เรียนรู้และเข้าถึงวิถีชีวิตของชาวอีสานเป็นอย่างดี และนำเอาประเพณีบางอย่างมาประยุกต์ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์อย่างกลมกลืน มีผลงานการประพันธ์และแปลหนังสือจำนวน 13 เล่ม
2) ผลการวิเคราะห์แนวคิดของบาทหลวงโรแบรต์ โกสเต ด้านการศึกษา ประกอบด้วย การจัดการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีหลักสูตรมีตัวชี้วัด กระบวนการจัดการเรียนการสอนจากแหล่งเรียนรู้ สอนโดยเน้นเนื้อหาวิชา คุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ ครูมีความรับผิดชอบ มีจิตวิญญาณของความเป็นครู และแสวงหาความรู้อยู่เสมอผู้บริหารเป็นผู้นำที่ดี มีวิสัยทัศน์ มีคุณธรรมจริยธรรม และศรัทธาในศาสนา คุณลักษณะของผู้เรียนที่ประสบ ความสำเร็จในการศึกษา มีคุณธรรมจริยธรรม สุภาพถ่อมตน รู้จักแบ่งปันใฝ่เรียนรู้ และเรียนรู้ตามศักยภาพ ด้านศาสนา ประกอบด้วย คริสตชนควรปฏิบัติตามความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณี และหลักคำ สอนของศาสนา ทำหน้าที่ในการเผยแผ่ศาสนา และด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย การผสมผสานและหยิบยืมวัฒนธรรมกันและกัน การรับและการเกิดวัฒนธรรมใหม่ ที่สำคัญควรมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น
3) ผลการตรวจสอบและยืนยันแนวคิดโดยวิธีตรวจสอบแบบสามเส้าจากงานการประพันธ์ ผู้ใกล้ชิดและบาทหลวงโรแบรต์ พบว่า ส่วนใหญ่ยืนยันสอดคล้องกับข้อค้นพบจากการวิเคราะห์แนวคิดทั้ง 3 ด้าน และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ด้านการศึกษา ครูควรเคารพศักดิ์ศรีของผู้เรียน และผู้เรียนควรลงทุนทางการศึกษา ด้านศาสนา คริสตชนควรดำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานในสิ่งที่ตนเชื่อ และด้านวัฒนธรรม ควรเคารพ เรียนรู้และยอมรับในคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่น
4. ผลการนำเสนอแนวคิดทางด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของปราชญ์ท้องถิ่น กรณีศึกษาบาทหลวงโรแบรต์ โกสเต พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความคิดเห็นเพิ่มเติมคือ ด้านการศึกษา การจัดการศึกษาควรได้รับการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารมีแนวคิด ทฤษฎี และหลักการบริหารการศึกษา ครูมีคุณธรรม รักและรับใช้ ด้านศาสนา ควรนำหลักธรรมคำสอนศาสนาคริสต์มาประยุกต์ใช้โดยการอ่าน พระคัมภีร์ส่งเสริมรักการอ่านใช้หลักกิจกรรมศาสนสัมพันธ์มาปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม และด้านวัฒนธรรม เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมสมัย รู้เขารู้เรา เพื่ออยู่ร่วมสังคมกันได้อย่างมีความสุข
Downloads
Article Details
References
Robert Costet. (2006). The history of Christianity spread in Siam and Laos., Bangkok : Assuption printing.
Surapun suwannasri . (2009). A building peacefulness in the social : The education process integration guidelines published Buddhism and Christianity in the Northeast. Mahasarakham University.
Surichai wuenkeaw . (2004) Face cultural globalization : The Policy of the culture in confiscate new ., Bangkok publishers.
Saree Pongpit. (1988).Christianity ., Bangkok, Tammasat university.
Amara Pongsapit . (2001). Culture religion and the ethnic : Analysis Thai social line anthropology ., print time at 5th. Bangkok : Jurarongkron university publishers.
United Nations Organization. Human Development (online) 2013 (cited 9 July 2013). Available from: http://th.wikipedia.org/wiki
Dewey, John. (1916). Democracy and Education ; An Introduction to the Philosophy of Education. New York : The MacMillan Company.