การพัฒนาหลักสูตรเสริมด้านการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ปิยดา ศรีตระกูล
ศิริ เจริญวัย
จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์
สงวนพงศ์ ชวนชม

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลักสูตรเสริมด้านการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และหาประสิทธิผลขอหลักสูตรเสริมด้านการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีม มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเพื่อกำหนดโครงสร้างของหลักสูตรเสริม เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด ทฤษฎีตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสังเคราะห์การศึกษาและการสัมภาษณ์เพื่อนำมากำหนดโครงสร้างของหลักสูตรเสริม ขั้นตอนที่ 2 การร่างหลักสูตรเสริมตามโครงสร้างที่กำหนดขึ้น ขั้นตอนที่ 3 การพิจารณาความเหมาะสมของร่างหลักสูตรเสริม เป็นการนำร่างหลักสูตรเสริมเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 ท่าน สนทนากลุ่ม (Focus Group) และขั้นตอนที่ 4 การหาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมโดยนำหลักสูตรเสริมไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน เป็นเวลา 30 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบทดสอบความรู้ 2) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีม 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีมแล้ว เก็บข้อมูลนำมาวิเคราะห์ผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป


        ผลการวิจัย พบว่า


        1. หลักสูตรเสริมด้านการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีโครงสร้าง 2 ส่วน ส่วนแรก คือ องค์ประกอบของหลักสูตรเสริมมี 6 องค์ประกอบได้แก่ 1. หลักการของหลักสูตรเสริม เกี่ยวข้องกับประเภทของหลักสูตรเสริม ลักษณะของหลักสูตรเสริม และเนื้อหา 2. วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเสริม (1) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นประโยชน์ของการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีม (2) เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) เพื่อให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีม 3. เนื้อหาสาระของหลักสูตรเสริม ซึ่งได้จากการสัมภาษณ์ครู และนักเรียน ประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ 4 เรื่อง (1) การทำรายงานกลุ่ม (2) การประชุมกลุ่ม (3) การสำรวจโรงเรียน (4) การศึกษาชุมชน 4.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ร่วมกันอภิปรายกลุ่ม แสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมกลุ่มผ่านใบงาน 5. สื่อการเรียนรู้ เป็นสื่อที่ใช้ประกอบกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นภาพและเข้าใจเนื้อหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งผู้วิจัยได้แยกสื่อการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ ใช้ก่อนการจัดกิจกรรม ใช้ระหว่างการจัดกิจกรรม ใช้หลังการจัดกิจกรรมและ 6.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ (1) แบบทดสอบวัดความรู้ (2) แบบวัดทักษะการทำงานเป็นทีม (3) แบบวัดความพึงพอใจ ต่อการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีม และส่วนที่สอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การทำรายงานกลุ่ม แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประชุมกลุ่ม แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสำรวจโรงเรียน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การศึกษาชุมชน ซึ่งนักเรียนแต่ละกลุ่มจะต้องทำงานตามองค์ประกอบของการทำงานเป็นทีม 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การวางแผนการเรียนรู้ (Planning) ขั้นที่ 2 การแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ (Sharing) ขั้นที่ 3 การระดมสมองและประยุกต์ใช้ความรู้แก้ปัญหา (Utilization) ขั้นที่ 4 การประเมินผลงานของทีม (Evaluation)


        2. ประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมด้านการทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีม มีดังนี้


        2.1 ด้านความรู้ นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้เป็นทีมสูงกว่าก่อนการทำกิจกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 87.17


        2.2 ด้านความสามารถของนักเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีมอยู่ในระดับมาก ( x̅ = 4.49)


        2.3 ด้านความพึงพอใจ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการทำ กิจกรรมการเรียนรู้เป็นทีมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅ = 4.53)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Atchara Chaiwiwat. (2008). The Development of the Enrichment Curriculum on the Critical Thinking Skills for Prathomsuksa 6 Students in Basic Education Schools. Journal of Education, Burapha University. 19(3): 65-66.

Aukkapong Sukkmart (2010). Development of Enrichment Curriculum to EnhanceDesirable Characteristics of

Prathomsuksa 4 Students via Contemplative Education. Dissertation in Education (Curriculum Research and Development): Graduate School, Srinakharinwirot University.

Beauchamp, G. A. (1975). Curriculum Theory. The 3rd Edition. Wilmetter, IL: The Kagg Press.

Johnson, D.W., and Johnson, R. T. (2005). Teaching Students to Be Peacemakers. The 4th Edition. Edina, MN: Interaction Book Company.

Office of the National Education Commission. (2002). National Education Act B.E. 2545 (1999) and Amendment (No.2) B.E. 2545 (2003). Bangkok: Prik Wan Graphic.

Office of the National Education Commission. (2011). Education Reform for the 21st Century to Ensure Leadership in the Information and Globalization Era. Bangkok: Office of the Prime Minister.

. (2012). The 11th National Economic and Social Development Plan B.E. 2555-2559 (2012-2016). Bangkok: Kurusapa Ladprao Printing.

Ornstein, A.G., and Hunkins,F.P. (2004). Curriculum Foundations, Principles and Issuses. New York: Pearson Education.

Pinsuda Sirirungsri. (2009). Thai Educational Image for the Future of 10-20 Years. Bangkok: Pim Dee Printing.

Pitsanu Fongsri. (2006). Educational Evaluation: Concept to Practice. The 2nd Edition. Bangkok: Tiam Fa Prining.

Saylor, Galen J.; and Alexander, William M. (1981). Planning Curriculum for School. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Sunee Phoopun. (2003). Basic Concept on Curriculum Creating and Development. Chiang Mai: Chiang Mai Saeng Silp Publishing.

Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace & World.

Tisana Khammani. (2002). Group Dynamics for Working and Learning Management. Bangkok: Nishin Advertising Group.

Worapot Wongkitcharoen and Atip Jittrerk. (2011). Education for the 21st Century. Bangkok: Open Worlds Publishing.