การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ CIPPA MODEL ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาผลการเรียนรู้ตามรูปแบบ CIPPA ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/802) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ CIPPA ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA จำนวน 4 แผน แผนละ 3 คาบ คาบละ 55 นาที 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนสำ หรับวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 4 เรื่อง เรื่องละ 10 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียน การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ CIPPA เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert’s 5-level Rating Scales) จำนวน 20 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 5) แบบสะท้อนผลการจัดกระบวนการเรียนการสอนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling Technique) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการจัดการเรียนตามรูปแบบ CIPPA ในการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79.47/82.78 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5หลังเรียนตามรูปแบบ CIPPA สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. กิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ CIPPA ในการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจมีดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ .60 หมายความว่าการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ CIPPA ทำ ให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้คิด เป็นร้อยละ 60 4. นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามรูปแบบ CIPPA อยู่ในระดับมาก ( x̅ = 4.08, S.D. = 0.14) โดยด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดคือ ด้านสื่อการเรียนรู้ซึ่งมีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x̅ = 4.18, S.D. = 0.11) ส่วนด้านที่คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุดก็คือ ด้านเนื้อหา (x̅ = 3.94, S.D. = 0.04)
Downloads
Article Details
References
Department of Curriculum and Instruction Development. (2008). Basic Education Core Curriculum of Foreign Languages 2008. Bangkok: Department of Curriculum and Instruction Development, Ministry of Education.
Jiranan Boonruan. (2001). Effects of Employing CIPPA Instructional Model Emphasizing Language Learning Process on Learning Achievement and Attitude towards Thai Language Learning of Prathom Suksa 3 Students. Master of Education in Elementary Education, Chulalongkorn University.
Kongsak Thatthong. (1999). Applied Classroom Action Research. Journal pp. 2, 10: October, 1999.
National Institute of Educational Testing Service. (2010). Ordinary National Educational Test Report 2010. Page 103-104, June.
Secondary Educational Service Area Office 26. (2010). National Test Results 2010. Kosumpisai: Maha Sarakham
Somsri Thammasarnsophon. (1995). A Comparison of English Writing Ability of Mathayom Suksa Six Students Learning through Process-Oriented Approach and Product-Oriented Approach. Information Research 15, 13-14: January-February.
Tapanee Wichairam. (2004). Development of Learning Plans to Practice Mathematics Problem Solving in Fraction for Prathom Suksa 4 by using the Cooperative Learning. Independent Study in Curriculum and Instruction. Maha Sarakham: Maha Sarakham University.
Waraporn Attamsoontorn. (2003). Effects of Semantic Mapping Activities on English Reading Comprehension of Prathom Suksa 6 Students. Independent Study in Elementary Education. Chiang Mai: Graduate School Chiang Mai University.