การสร้างแบบวัดความสามารถเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3

Main Article Content

ธัญวรัชต์ พลเทพ
อรัญ ซุยกระเดื่อง
ประสพสุข ฤทธิเดช

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดความสามารถเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความสามารถเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) สร้างเกณฑ์ปกติของคะแนนความสามารถเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอำนาจเจริญจำนวน 400 คนได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถเชิงวิเคราะห์ มีลักษณะเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 50 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหาคุณภาพเครื่องมือโดยการวิเคราะห์ ค่าความยาก อำนาจจำแนก ความเชื่อมั่น และความเที่ยงตรง เชิงโครงสร้างโดยกา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


        ผลการวิจัยพบว่า


        1. แบบวัดความสามารถเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ 50 ข้อคำถาม เวลา 60 นาที ประกอบด้วยแบบวัดความสามารถด้านการวิเคราะห์เชิงภาษา จำนวน 17 ข้อ ด้านการวิเคราะห์แผนภูมิเชิงตรรกะ จำนวน 20 ข้อ และด้านการิเคราะห์เชิงภาพและสัญลักษณ์ จำนวน 13 ข้อ 2. ข้อสอบมีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ 0.247 – 0.637 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.247 - 0.808 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.89 3. คะแน เกณฑ์ปกติของแบบวัดความสามารถเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดอำนาจเจริญ มีช่วงคะแนนตั้งแต่ T22.8 ถึง T65.0 ช่วงคะแนนตั้งแต่ T65 ขึ้นไป (คะแนนดิบ ตั้งแต่ 31 ขึ้นไป) นักเรียนมีความสามารถเชิงวิเคราะห์อยู่ในระดับสูงมากช่วงคะแนนตั้งแต่ T55 ถึง T65 (คะแนนดิบ ตั้งแต่ 24-30) นักเรียนมีความสามารถเชิงวิเคราะห์อยู่ในระดับสูง ช่วงคะแนนตั้งแต่ T46 ถึง T54 (คะแนนดิบ ตั้งแต่ 18-23) นักเรียนมีความสามารถเชิงวิเคราะห์อยู่ในระดับปานกลาง ช่วงคะแนนต่ำกว่า T46 (คะแนนดิบต่ำกว่า 18) นักเรียนมีความสามารถเชิงวิเคราะห์อยู่ในระดับต่ำ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Chawan Phaeratakul. (1982). Item Writing Technique. Bangkok: Phaeratakul Printing House.

Kanjana Homsing. (2009). The Construction of Analytical Thinking Test about Mathematics for Mathayom Suksa 5 Students. Master of Education in Measurement and Evaluation, Khon Kaen University.

Kowit Pravalppuk. (2008). Thinking Classroom Project. Thinking Development Using GPAS Process. Bureau of Educational Innovation Development, Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. Publisher of the Agriculture Co-operative Federation of Thailand., Ltd.

Office for National Education Standards and Quality Assessment. (2005). Standard Indicators and Criteria for Second Round of External Quality Assessment (2006-2010).

Tissana Kaemanee. (2008). Thinking Science. Bangkok: The Master Group Management Co.,Ltd. Press.

Tissana Kaemanee. (2008). Thinking Process Development: various guideline for teacher. Bureau of Educational Innovation Development, Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. Publisher of the Agriculture Co-operative Federation of Thailand., Ltd.