การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

Main Article Content

อดิศร มิ่งวงศ์ธรรม
ลักขณา สริวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน (2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน และ (3) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 จำนวน 127 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และ 3 คนในสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ในออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน และแบบประเมินความเหมาะสมของโปรแกรมพัฒนาครูในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) การศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าได้ 7 องค์ประกอบ 47 ตัวชี้วัด (2) การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พบว่าสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับน้อย และ สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) โปรแกรมพัฒนาครู ในการออกแบบการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการค้นพบความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 มี 6 องค์ประกอบดังนี้ 1) การศึกษาปัญหา/ความต้องการของผู้เรียน 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ 3) การกำหนดเนื้อหา/สาระ 4) การกำหนดยุทธศาสตร์ 5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อ 6) การกำหนดวิธีวัดผลการเรียนรู้และประเมินผล และ 7) การนำข้อมูลย้อนกลับมาปรับปรุง และโปรแกรมได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้และด้านความสมเหตุสมผลอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กิดานันท์ มลิทอง (2540). เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูชัย สมิทธิไกร (2550). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำ นักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐีระ ประวาลพฤกษ์. (2538). การพัฒนาบุคลากรและการฝึกอบรม (Personnel development and Training). กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ.

ทิศนา แขมมณี. (2547). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร:ด่านสุทธาการพิมพ์.

ธนานันต์ ดียิ่ง. (2556). โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ปัญญา แกล้วกล้า. (2547). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องกระบวนการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (A training package development for basic curriculum construction process. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชั้นขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2559, จาก http//www.niets.or.th.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. (2559). รายงานผลการจัดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2558 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน). (2550). ํ หลักเกณฑ์และ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาขั้นพนฐาน. กรุงเทพฯ: สมศ.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุเทพ อ่วมเจริญ. (2559). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

Glasser, Robert., (1962). Teaching machine and program learning II. Pittsburgh: University of Pittsburgh Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Mager, R. F., (1975). Preparing instructional objectives (2nd ed.). California: Pitman Learning.

Oliva, P.F., (1992). Developing the Curriculum. (3rd ed.) New York: Hatper Collins.

Saylor, J.G, Alexander, W.M. (1974). Planning Curriculum For Schools. New York: Holt, Rinehart and Wiston.

Stake, Robert E. (1973). The Countenance of Education Evaluation,” in Education Evaluation: Theory and Practice. Belmont: California Wadsworth Publishing Company.

Stufflebeam, Daniel L. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Atlantic City, N.J.

Taba, H., (1962). Curriculum Development: Thorey and Practice. New York: Harcourt Brace & World.

Tyler, Ralph W., (1949). Basic Principle of Curriculum and Instruction. Chicago: The University of Chicago Press.