รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานวัตถุประสงค์เฉพาะ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการในการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูลคือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและครูที่ปรึกษาจำนวน 363 คน เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคู่มือการใช้รูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ วิเคราะห์้อมูลที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ขั้นตอนที่ 4 การนำเสนอรูปแบบผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก สภาพปัญหาที่พบคือ การนิเทศ กำกับติดตาม สภาพความต้องการคือ การนิเทศ กำกับติดตามการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2. รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยคือ องค์ประกอบหลักที่ 1 ได้แก่ 1) ภาพความสำเร็จ 2) พันธกิจ และ 3) เป้าประสงค์ องค์ประกอบหลักที่ 2 ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ 1) ผู้บริหารเป็นผู้นำ 2) ครูมีเจตคติที่ดีมีความสามารถ 3) มีสื่อเครื่องมือและนวัตกรรม องค์ประกอบหลักที่ 3 กระบวนการ ได้แก่1) การวางระบบการบริหารระบบดูแล 2) การดำ เนินการตามระบบดูแล 3) การวางระบบงานและกิจกรรมแนะแนว 4) การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน 5) การนิเทศกับติดตามประเมินผล และ6) การผดุงระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน องค์ประกอบหลักที่ 4 ผลผลิต ได้แก่ 1)การพิทักษ์ปกป้องคุ้มครอง 2) การส่งเสริมทักษะชีวิต3) ความสามารถในการปรับ และ 4) การพัฒนาอย่างรอบด้านของนักเรียน องค์ประกอบหลักที่ 5 การประเมินผล ได้แก่ 1) ประเมินปัจจัยนำเข้า 2) ประเมินกระบวนการ และ 3) ประเมินผลผลิต องค์ประกอบหลักที่ 6 ย้อนกลับปรับปรุง ได้แก่ 1) ปรับปรุงปัจจัยนำเข้า 2) ปรับปรุงกระบวนการ และ 3) ปรับปรุงผลผลิต องค์ประกอบหลักที่ 7 เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ ได้แก่ 1) ผู้บริหารและทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ให้การสนับสนุน ครูและผู้เกี่ยวข้องมีความตระหนักและให้ความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีเจตคติที่ดี มีความสุขที่จะพัฒนานักเรียน และ 3) ภาคีเครือข่ายคณะกรรมการดำเนินงานทุกคณะมีการประสานกันอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นในเรื่องที่เอื้อประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3. การประเมินรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 4. การนำเสนอรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่เห็นว่าโครงสร้างของรูปแบบมีความเหมาะสม มีลำดับขั้นตอนที่ชัดเจนแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อย มีระบบการย้อนกลับปรับปรุงการนำเสนอด้วยแผนภูมิสามารถสื่อสารได้เข้าใจชัดเจน เพื่อนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
Article Details
References
Auychai Sritrakul. (2012). The Development of Student Care System Management Model in School under the Primary Educational Service Area Office. Master of Education Thesis in Educational Administration, Naresuan University.
Derek Wannasian. (2002). The Development of Comprehensive School-base Management Model for Basic Education Institutions. Doctoral of Education Thesis in Educational Administration, Graduate School Chulalongkorn University. National Education standard and Quality Assessment (Public Organization).
Office. (2004). National Education Act B.E. 2542 (1999) as amended by Act (No.2), B.E. 254 (2002). Bangkok: Prigwan Graphics.
Praewpan Sunanta. (2009). Development of Student Assistant System in Secondary Education Extension School under the Office of Chaing Rai Educational Service Area. Master of Education Thesis in Educational Administration, Graduate School, Chaing Rai Rajabhat University.
Kast, Fremont E. and James E. Rosenzweig. (1988). Organization and Management: ASystem and Contingency Approach. 4th ed. New York: McGraw – Hill.
Sirichai Karnchanawasri et al. (2007). Operating Model of Integrated Educational Management System of Educational Service Areas. Changes via Education for enteringKnowledge Based Economic Age Integrated Research Project. Chulalongkorn University.
Sombat Thamrongthanyawong. (2006). Thai Politics and Government: Dictator Period – Revolution Period. 2nd ed. Bangkok: Sematham.
Thana Sunthrayuth. (2008). Transformational Management: Theory, Research and Practice in Education. Bangkok: Netikoolkarnpim.
Uthai Boonprasert. (2000). The Study of Administrative and Educational Management using School - Based Management. Bangkok: Kurusapha Ladprao Publisher.