ผลการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา เรื่อง อาหารและการย่อยอาหารของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยเทคนิค WEWT กับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

ปฤษฎางค์ เกี้ยงเก่า
อุษา ทองไพโรจน์
บังอร แถวโนนงิ้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและการย่ออาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิค WEWT 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาชีววิทยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิค WEWT และการสอนแบบปกติ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิค WEWT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม จ.ยโสธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 86 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แล้วทำ การจับสลากแยกกลุ่ม โดยกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 จำนวนนักเรียน 43 คน ได้รับการสอนโดยใช้เทคนิค WEWT และกลุ่มทดลอง กลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 จำนวนนักเรียน 43 คน ได้รับการสอนแบบปกติ


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 รูปแบบ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิค WEWT และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวนรูปแบบละ 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.20 – 0.46 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 3) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ t-test


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนด้วยเทคนิค WEWT และแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนแบบปกติ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.82/80.23 และ 80.96/76.35 ตามลำดับ


2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่ออาหารและการย่อยอาหาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนด้วยเทคนิค WEWT และแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนแบบปกติ เท่ากับ 0.7125 และ 0.6549 ตามลำดับ


3. นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิค WEWT และการสอนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


4. นักเรียนที่เรียนที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิค WEWT มีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน โดยมีคะแนนเฉลี่ยรวมทุกด้าน เท่ากับ 4.56 คืออยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด


โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิค WEWT และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติช่วยเสริมสร้างผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังนั้นผู้สอนควรเลือกวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว ไปปรับประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของเนื้อหา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

Arunya Suthasinobon. (2002). Integrated academic instruction. 5(12): 20-26.

Bonchom srisaard. (2002). Preliminary research. 5th edition. Bangkok: Suweyasan.

Braham, E. (1997) “Literature and Science create an engaging combination,”Middle school journal. 29(1): 34-39.

Department. (2001). Learning by Problem. Bangkok: First Place and graphics.

Joyce, B, & Weil, M. (1996). Model of teaching. 5th ed. Boston: Allyn and Bacon.

Kaengsuk jaruansuk. (1999). Critical Thinking. 4th edition. Bangkok: Media Success.

Kamika Tubtimsai (2003). The development of training strategies for learning English vocabulary levels Secondary 3 school years Tha Maka Maka Kanchanaburi. Thesis M.A. Bangkok: Silpakorn University.

Klausmeier” H.J. (1985). Educational psychology. 5th ed. New York: Harper & Row.

Kodchakorn Tiputdee. (1999). Developing the ability to recognize words in English with patterns Teaching for a reminder for students majoring in English. Ubonratchathani: Ubonratchathani Ratjabhat.

Louan saiyod and Aungkana saiyod. (1998). Technical education research.:Department of Research and Evaluation Education: University Pathumwan.

Napattharin Paopan. (2011). The effect of learning English vocabulary by learning styles. Teaching memorizing the illustrations Based on Multiple Intelligences Theory For students in vocational schools Teerapada technology Roi Et. Thesis M.A. Mahasarakham: Mahasarakham Ratjabhat.

Pachean Kitrakarn. (2001). Indices effectiveness. Mahasarakham: Department of Communications and Technology The Faculty of Education Mahasarakham University.

Peter Hudson. (2009). “Learning to Teach Science Using English As The Medium of Instruction”. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 5(2): 165-170.

Renate N.Caine and Geolffrey Caine. (1997). Education on the Edge of Possibility.

Siripat Jadsadawirod. (2003). Curriculum integration For students that year. Wat Samian 1 Bangkok. Thesis of Philosophy Study (Curriculum and Instruction) Kasatsard University.

Somnuk Pattiyatanee. (2001). Education Measurement. Karasin: Coordinate printing.

Tirsana Kammanee. (2012). Science teaching. 14th edition. Bangkok:Chulalongkorn University.

Wheatley, G. H. (1991). “Constructivism Perspective on Science and Mathematics.” Science Education 75, 1(January 1991): 9-21.