แนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาของการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงในสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและ สภาพปัญหาของการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและ สภาพปัญหาของการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จำนวน 393 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 2) การศึกษาแนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษาที่เป็นต้นแบบด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน และผู้มีหน้าที่ในการนิเทศภายในสถานศึกษาจำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 40 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 5 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการขยายผลและยกย่องเชิดชูเกียรติ ด้านการดำเนินการนิเทศ และการประเมินและรายงานผลการประเมิน ส่วนข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การวางแผนการนิเทศ สภาพปัญหาการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 โดยรวมอยู่ระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ย จากน้อยไปมาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านการวางแผนการนิเทศ การสำรวจความต้องการและจำเป็น และการประเมินและรายงานผลการประเมิน ส่วนข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การดำเนินการนิเทศภายใน
2. แนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 พบว่า แนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการสำรวจความต้องการและความจำเป็น ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการดำเนินการนิเทศ ด้านการประเมินและรายงานผลการนิเทศและด้านการขยายผล ยกย่อง และเชิดชูเกียรติ และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ พบว่า ด้านความเหมาะสมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความเป็นไปได้โดยรวมมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินคู่มือแนวทางการนิเทศภายในแบบพี่เลี้ยงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้มีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของคู่มือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ของคู่มือโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Downloads
Article Details
References
จิณหธาน์ อุปาทัง. (2551). การศึกษาการดาเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
พัชรินทร์ ช่วยศิริ. (2554). การศึกษาการดาเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนวัดประดู่ฉิมพลี. สารนิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิบูลชัย ศรีเข้ม. (2553). การศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 10. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์. (2538). หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). การนิเทศการสอน. นครปฐม:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์. (2551). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ กศ.ด. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). การนิเทศเพื่อพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษทักรีนกรุปจํากัด.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). ํ การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาสู่วิธีการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). การกำกับติดตาม/นิเทศและประเมิลผลการนิเทศโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
โสภณ ทองจิตร. (2553). การปฏิบัติตามกระบวนการนิเทศภายในของผู้นิเทศการศึกษา ในโรงเรียนเครือข่ายบางกุ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ภาคนิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2536). หลักการแนะแนวทางในการจัดการนิเทศภายในสำหรับสถานศึกษาประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: รุ่งสาส์นการพิมพ์.
Anderson, Eugene M. and Anna L. Shannon. (2002). “Toward a Conceptualizing Of Mentoring,” Journal of Teacher Education. 39(1): 38-42 ; January.
Marlene, P and M. Jana. Machenry. (2002). “The Mentor’s Handbook: Practical Suggestions For Collaborative Reflection and Analysis,” Christopher-Gordon, 3(1): 152 ; January.
Mentor International Study Consultant. (2009). Chapter Three: What Are the Step for Developing and Implement Mentoring. 23 June.
Rahman, T. and others. (2005). “A Systemic Mentoring Model in Computer Science,” Annual Southeast Regional Conference. 18(20): 371 - 375 ; March.
Rolando, Cruz. (2009). Different Leadership Style Definition. <http://www.essortment.com/liftstyle/different leader skus. htm.
Sweeny, Barry W. (2008). Defining the Distinctions Between Mentoring and Coaching. 15 October, 2009.
Young, Paul G. and others. (1950). Mentoring Principle: Framework, agendas, tips, and Case Stories for Mentors and Mantes. USA: Sage Publication Ltd.