แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

นุจนาจ ขุนาพรม
มณเฑียร พัวไพบูลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2) สร้างแนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีวิธีดำเนินการการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยดำเนินการเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ จำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม สถิตที่ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) จำนวน 3 โรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาสังเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 สร้างแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ คือ ดัชนีความสอดคล้อง ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การประเมินแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด


2. ความต้องการจำเป็นในสร้างแนวการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารและสาระสนเทศ ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้านการจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ตามลำดับ


3. แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีวิธีการดำเนินการ ประกอบด้วย 8 ด้าน 72 ตัวบ่งชี้


4. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ แนวทางการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่า มีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 วันที่ 2 เมษายน 2553.

กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

นิวัติ เชียงแรง. (2555). การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 36. วิทยานิพนธ์.กศ.ม. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วราพร ชัยอาษา. (2554). ความต้องการจำเป็นในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภออุบลรัตน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 4. รายงานการศึกษาอิสระ ศศ.ม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณภา พุดสี. (2554). การพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2549). คู่มือการประเมินคุณภาพ ภายนอกระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2545). หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

อิสระ เวียงสมุทร. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนน้ำพองพัฒนศึกษารัชมังคลาภิเษก อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610 ; March.