การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาประวัติศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

จินตนา ไชยวาน
เดชา จันทคัต
สาคร อัฒจักร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาประวัติศาสตร์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 4) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 5) ศึกษาพฤติกรรมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านลาด อำเภอเมืองหนองบัวลำภูจังหวัดหนองบัวลำภู ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิดได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฏีพหุปัญญา โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.35ถึง 0.69 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 20 ข้อมีค่าความยากตั้งแต่ 0.46 ถึง 0.65 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.29 ถึง 0.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t–test (Dependent Samples)


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.09/83.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้


2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.5749


3. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


4. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6มีการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกในการพูดสนทนา การตอบคำถามและการเขียนอธิบายประกอบการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนที่บ่งบอกถึงการมีพัฒนาการความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ในองค์ประกอบด้านการวิเคราะห์ความสำคัญ ความสัมพันธ์ และด้านหลักการ ระหว่างเรียนเพิ่มขึ้นตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กรมวิชาการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นงคราญ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาสาระเศรษฐศาสตร์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าแบบอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิราศ จันทรจิตร. (2553). การเรียนรู้ด้านการคิด. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บังอร เสรีรัตน์. (2543). เก่งหลากหลายแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพหุปัญญา. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

ประภาส หมั่นเรียน. (2555). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าแบบอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิศสวาท ศรีสะอาด. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมสาระประวัติศาสตร์ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญาเรื่องพัฒนาการทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การค้นคว้าแบบอิสระ กศ.ม.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุ่งทิวา วิริยะสถิตย์. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน้าที่ประชาชนไทย การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญากับการจัดการเรียนรู้แบบ Jigsaw. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัชระ แจ่มจำรัส. (2549). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มัลติมีเดีย เสริมการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2550). การพัฒนาการเรียนการสอน. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2555). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

อารี สัณหฉวี. (2543). พหุปัญญาและการเรียนแบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แว่นแก้ว, 2543.

Gardner, H. (1993). Multiple Intelligence: The Theory in Practice. New York: Basic Books.

Gardner, H. (1999). Intelligence Reframed: Multiple Intelligences for the 21th Century. NewYork: Basic Books.

Ong, Ai-Choo and Borich, Gary D. (2006). Teaching Strategies That Promote Thinking: Models And Curriculum Approaches. Singapore: McGraw-Hill Education.