การพัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพภายใน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

กานต์สินี วาดวงศ์
ประเสริฐ เรือนนะการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ และ 3) พัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพภายใน สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 3 ระยะ ระยะที่ 1: การวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดการประกันคุณภาพภายใน ระยะที่ 2: การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่ พึงประสงค์ของการประกันคุณภาพภายใน จากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหาร จำนวน 15 คน และครู จำนวน 190 คน โดยสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ซึ่งสุ่มจากประชากรที่เป็นผู้บริหารและครู จำนวน 429 คน ในสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาและสถานศึกษาที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ และ ระยะที่ 3: การพัฒนาแนวทาง การประกันคุณภาพภายใน โดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแนวทางการประกันคุณภาพภายใน จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย (1) แบบประเมินสำหรับใช้ประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด (2) แบบสอบถามสำหรับใช้ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการประกันคุณภาพภายใน และ(3) แบบประเมินสำหรับใช้ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง การประกันคุณภาพภายใน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. องค์ประกอบการประกันคุณภาพภายใน มีจำนวน 8 องค์ประกอบ และ 32 ตัวชี้วัด ดังนี้ 1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มี 4 ตัวชี้วัด 2) จัดทำ แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มี11 ตัวชี้วัด 3) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ มี 3 ตัวชี้วัด 4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มี 2 ตัวชี้วัด 5) การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา มี 4 ตัวชี้วัด 6) การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มี 2 ตัวชี้วัด 7) การจัดทำ รายงานประจำปีที่เป็นรายงานประกันคุณภาพภายใน มี 3 ตัวชี้วัด 8) การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มี 3 ตัวชี้วัด


2. สภาพปัจจุบันของการประกันคุณภาพภายใน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพ ที่พึงประสงค์ของการประกันคุณภาพภายใน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


3. แนวทางที่เหมาะสมสำหรับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) กำหนดมาตรฐานและการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ประกอบด้วย 1.1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และ1.2) จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 2) กำ หนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การติดตาม ตรวจสอบการประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วย 2.1) จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2.2) ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 2.3) จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 2.4) จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2.5) จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน และ 2.6) จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

เนตรนภา ครองยศ. (2558). รูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ การบริหารการศึกษา มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิทักษ์ ดวงอาสงส์. (2558). สภาพความต้องการและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองคาย เขต2. วิทยานิพนธ์ การบริหารการศึกษา มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัตนา ซื่อสัตย์. (2559). แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วิทยานิพนธ์ การบริหารการศึกษา มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (2558). รายงานการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา 2558. บึงกาฬ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556ก). การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงวาด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554ก). การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพของสถานศึกษา พ.ศ. 2553 เลมที่ 5 ่ . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2556ก). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 เล่มที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ขอเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิค จำกัด.

Best and Kahn James, V. (1993). Research in Education. 7th ed. Boston: Allyn and Bacon.