จินตกรรมความเป็นไทยในหนังสืออ่านนอกเวลาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจินตกรรมความเป็นไทยในหนังสืออ่านนอกเวลาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประเด็นเรื่องความเป็นไทยถือเป็นหนึ่งในคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อพัฒนาสติปัญญาและคุณธรรมของนักเรียน ผลการศึกษาพบว่า หนังสืออ่านนอกเวลาเป็นวาทกรรมชุดหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อการกล่อมเกลาผู้เรียน และปลูกฝังอุดมการณ์ทางสังคมได้เป็นอย่างดี จินตกรรมของความเป็นไทยถูกนำเสนอในหลายมิติ ได้แก่ ความเป็นไทยกับจินตกรรมทางขนบธรรมเนียมประเพณี, จินตกรรมทางภูมิปัญญา, จินตกรรมทางศาสนา และจินตกรรมเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ หนังสืออ่านนอกเวลาจึงเป็นกลไกเชิงอำนาจที่ถูกนำเสนอผ่านภาษาเพื่อสร้างระเบียบวินัยในการเป็นพลเมืองที่ดี ตลอดจนการสร้างสำนึกแห่งความเป็นไทยอันสอดคล้องกับอุดมการณ์แบบชาตินิยม
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
งามพรรณ เวชชาชีวะ. (2555). ความสุขของกะทิ. พิมพ์ครั้งที่ 82. กรุงเทพฯ: แพรว.
ชมัยพร แสงกระจ่าง. (2555). ขวัญสงฆ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คมบาง.
ชัยกร หาญไฟฟ้า. (2557). ฃวดฅนอยู่หนใด. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2546). นวัตกรรมการศึกษาชัด แบบฝึกหัด-แบบฝึกเสริมทักษะ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
บุศยารัตน์ คู่เทียม. (2554). ว่าวไทย. นิตยสารศิลปากร, 54(2), 77-95.
เบน แอนเดอร์สัน. (2552). ชุมชนจินตกรรม บทสะท้อนว่าด้วยกำเนิดและการแพร่ขยายของชาตินิยม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการ.
ประภัสสร เสวิกุล. (2556). เด็กชายมะลิวัลย์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์.
พัฒนา กิติอาษา. (2546). มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ศรัณย์ ทองปาน. (2554). ช ช้าง กับ ฅ ฅน. กรุงเทพฯ: สารคดี.
ส.พลายน้อย. (2554). ขนมแม่เอ๊ย. กรุงเทพฯ: สารคดี.
อัจฉรา ชีวพันธุ์. (2546). คู่มือการสอนภาษาไทยกิจกรรมการเล่นประกอบการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.