การพัฒนาตัวชี้วัดด้านการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนกลุ่มโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

มานพ สอนศิริ
ยุวธิดา อัคฮาด
สมชาย อุ่นแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างตัวชี้วัดด้านการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนระดับประถมศึกษา 2)เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวชี้วัดด้านการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนระดับประถมศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินตัวชี้วัดสมรรถนะด้านการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนกลุ่ม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ คำนวนค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทส์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้การวิเคราะห์เชิงสำ รวจ (Exploratory Factor Analysis:EFA)


จากการวิเคราะห์ได้ผลวิจัย พบว่า 1) ตัวชี้วัดด้านการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนระดับประถมศึกษาที่สร้างขึ้นมี 4 องค์ประกอบ จำนวน 18 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ด้านการวิเคราะห์ปัญหา จำนวน 2 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ด้านการวางแผนในการแก้ปัญหา จำนวน 3 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 ด้าน การดำเนินการแก้ปัญหา จำนวน 8 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 4 ด้านการประเมินและตรวจสอบการแก้ปัญหา จำนวน 5 ตัวชี้วัด 2) เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวชี้วัดด้านการคิดแก้ปัญหาของผู้เรียนระดับประถมศึกษาโดยวิเคราะห์ค่าน้ำ หนักองค์ประกอบคุณลักษณะทั่วไป จากการใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบของตัวชี้วัดด้านการคิดแก้ปัญหาที่สร้างขึ้นโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA) พบว่า ค่าน้ำ หนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.559–0.771 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกองค์ประกอบ เป็นไปตามแนวคิดทางทฤษฏี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จินตนา ธนวิบูลย์ชัย. (2535). การคิด การคิดแก้ปัญหา และการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม. (2558). การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2): 111-121.

บงกช ทองเอี่ยม. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู ในมหาวิทยาลัยแบบไม่จำกัดรับ. วารสารสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,4(1): 291-302.

ปิยดา ปัญญาศรี. (2545). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างนักเรียนที่มีแบบเรียน การอบรมเลี้ยงดู และระดับเชาวน์ปัญญา แตกต่างกัน.ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม). (2551). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำ แหง.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ศศิธร พงษ์โภคา. (2557). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด. ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ.

สุพรรณา เพ็ชรรักษา. (2557). 21st Century ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษใหม่. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สุวิมล ว่องวานิช. (2546). แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตาราและเอกสารทางวิชาการ.

สุวิทย์ มูลคำ . (2551). กลยุทธ์การสอนคิดแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

อภิชา น้อมศิริ. (2558). การพัฒนาตัวชี้วัดความฉลาดทางสุขภาพด้านเพศสําหรับวัยรุ่นตอนต้น.ปริญญาดุษฎีนิพนธ์ (วิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,กรุงเทพมหานคร.