การพัฒนาระบบติดตามแผนการเรียน “Remind Me” ของนิสิต ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบติดตามแผนการเรียน ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และ 2) ศึกษาความคาดหวัง ความพึงพอใจ และความคิดเห็นต่อระบบติดตามแผนการเรียน ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต ศรีราชา โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบ และการตรวจสอบคุณภาพ และ 3) ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้งานระบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองการใช้งานระบบเป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยพิจารณาจากนิสิตทั้งรุ่นของหลักสูตรที่มีการใช้งานระบบทุกขั้นตอนซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบติดตามแผนการเรียน “Remind Me” มีการจัดแบ่งหน้าระบบเป็น 2 ส่วน คือ (1) หน้าระบบสำหรับเจ้าหน้าที่ อาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร มีการแบ่งภาระงานเป็น 3 งาน คือ บันทึกข้อมูลนิสิต บันทึกข้อมูลคำร้อง และบันทึกข้อมูลแผนการศึกษา และ (2) หน้าระบบสำหรับนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มีการแสดงขั้นตอนที่เกี่ยวข้องสำหรับการจัดทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาค้นคว้าอิสระ และรายงานสถานะตามขั้นตอนต่างๆ ของนิสิต และ 2) ความคาดหวังต่อระบบติดตามแผนการเรียน “Remind Me” ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.28) และความพึงพอใจต่อระบบติดตามแผนการเรียน “Remind Me” ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.67) โดยนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจะมีความคาดหวังสูงกว่าความพึงพอใจทุกข้อ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Downloads
Article Details
References
ชัยวัฒน์ รังสิมันตุ์วงศ์ และทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ. (2559). การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเพื่อพัฒนาชุมชน. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 3(2), 94-102.
ถนอม กองใจ และอริษา ทาทอง. (2565). การพัฒนาระบบแจ้งเตือนและการนัดหมายอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์. Mahidol R2R e-Journal, 9(2), 32-45.
ทนงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ปิยวรรณ ปานโต. (2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์. (อัดสำเนา).
พันธนีย์ ธิติชัย และภันทิลา ทวีวิกยการ. (2564). รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกัน ในระดับโลก และในประเทศไทย. นนทบุรี: กรมควบคุมโลก. (อัดสำเนา).
วรัญญา เขตตุ้ย ชัญญนุช ทิวะสิงห์ และวลัยพร ราชคมน์. (2561). ความคาดหวังและความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของผู้มารับบริการ โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 5(1), 101-119.
วิรัช กาฬภักดี. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ECT Journal), 12(12-13), 27-39.
วียา วงศ์คำ และเกียรติฟ้า ตั้งใจจิต. (2558). ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อศูนย์สื่อการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ใน การประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการ ระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558. (น. 1399-1405). ขอนแก่น: วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). แรงจูงใจและความคาดหวังในการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษาของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(3), 181-192.
Pimentel J. L. (2010). A Note on the Usage of Likert Scaling for Research Data Analysis. USM R&D Journal, 18(2): 109-112.