การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชาประวัติศาสตร์ไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด

Main Article Content

คณาวิทย์ ณอัคร โชคเจริญ
ธัชชัย จิตรนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาประวัติศาสตร์ไทย 4 ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกันผังความคิด โดยกำหนดให้จำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 4) เพื่อศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด โดยกำหนดให้จำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวนนักเรียน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด เรื่องรัฐโบราณและรัฐไทยในดินแดนไทย จำนวน 5 แผน ใช้เวลาในการสอนแผนละ 2 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.68 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.28 ถึง 0.91 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนีประสิทธิผล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ. (2545). ฝึกสมองให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: วัฒนพานิช.

สมชาย วิริจินดา. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระประวัติศาสตร์และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบโครงงานกับวิธีการทางประวัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สมบูรณ์ คนขยัน. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องประวัติศาสตร์สมัยสุโขมัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการเรียนบนเว็บด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์และวิธีการเรียนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เสน่ห์ ฉวยกระโทก. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2554). ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward Design) โดยใช้การสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัครเดช แสนณรงค์. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รายวิชา ส31102 ประวัติศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.