แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโรงเรียนสร้างสุข: กรณีศึกษา โรงเรียนอนุบาลจันทรัตน์

Main Article Content

ธรัชพร คำไสย
ปริญา ปริพุฒ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษา สังเคราะห์ และประเมินคุณภาพของแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโรงเรียนสร้างสุข (2) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรในโรงเรียนต่อแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโรงเรียนสร้างสุข กลุ่มเป้าหมายได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เป็นผู้ประเมินแนวทางการจัดกิจกรรม และบุคลากรในโรงเรียนได้แก่ คณะกรรมการบริหาร จำนวน 7 คน คณะครูและบุคลากร จำนวน 35 คน รวมจำนวน 42 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ โรงเรียนอนุบาลจันทรัตน์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโรงเรียนสร้างสุขโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโรงเรียนสร้างสุข จำนวน 13 ข้อ มีค่าความสอดคล้องระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
       


ผลการวิจัย พบว่า
1. แนวคิดโรงเรียนสร้างสุข ประกอบด้วย 5 ฐานคิดคือ(1) ความรู้ด้านการบูรณาการเทคโนโลยีในการสอนเนื้อหาวิชาเฉพาะ(TPACK)(2) แนวการสอนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา(CLIL)(3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBL) (4) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (PBL) และ (5) กระบวนการจิตศึกษา โดยมีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบ PROM model มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นวางแผน (P: Plan) (2) ขั้นเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง (R: Real life) (3) ขั้นปฏิบัติงาน (O:Operation) (4) ขั้นตรวจสอบ ปรับปรุงและสะท้อนผล (M: Monitor) ซึ่งจากการประเมินคุณภาพของแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโรงเรียนสร้างสุขโดยผู้เชี่ยวชาญมีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.25, S.D. = 0.90)
2. บุคลากรในโรงเรียนมีความพึงพอใจต่อแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโรงเรียนสร้างสุขโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.19, S.D. = 0.55)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กัมพล เจริญรักษ์. (2558). เรื่องเล่าเส้นทางการพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะ: โรงเรียนแห่งความสุข. วารสารวิชาการ, 18(2): เมษายน – มิถุนายน 2558, 38-51.

คณะทำงานวิชาการ ภาคีเพื่อการศึกษาไทย. (2561). เส้นทางอนาคตการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: ภาคีเพื่อการศึกษาไทย Thailand Education Partnership (TEP).

คณะศึกษาศาสตร์. (2561). สาระการอบรม หลักสูตรการพัฒนาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นระยะการเข้าสู่วิชาชีพ (Induction Period) รุ่นปี พ.ศ. 2559–2560 ของเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (อัดสำเนา)

ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(2): 1-6.

ปริญา ปริพุฒ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริมความเป็นผู้เรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

มูลนิธิสถาบันวิจัยระบบการศึกษา. (2561). โรงเรียนสุขภาวะ: การศึกษาแบบนวัตกรรมยุคใหม่ (Healthy School),สืบค้นเมื่อ17 พฤศจิกายน 2561, จากhttp://www.ires.or.th

โรงเรียนอนุบาลจันทรัตน์. (2560). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2560. กาฬสินธุ์: โรงเรียนอนุบาลจันทรัตน์. (อัดสำเนา)

วิเชียร ไชยบัง. (2561). จิตศึกษากับการพัฒนาปัญญาภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Bray, B. and McClaskey, K. (2015). Make Learning Personal. California: Corwin.

Stein, S. (2001). Equipped for the Future Content Standards: What Adults Need to Know and Be Able to Do in the 21st Century. 3nd ed. Washington, D.C.: National Institute for Literacy.

Walker, K. (2011). Play Matters: Investigative Learning for Preschool to Grade 2. 2nd ed. Victoria: ACER Press.