การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วิกฤตการณ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW และรูปแบบปกติ

Main Article Content

เจตณรงค์ ลิขิตบัณฑูร
ธัชชัย จิตรนันท์

บทคัดย่อ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วิกฤตการณ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW และรูปแบบปกติ การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง วิกฤตการณ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 4) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW และการจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 78 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 33 คน จาก 1 ห้องเรียน สำหรับการสอน กลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW และกลุ่มควบคุม 45 คน จาก 1 ห้องเรียน สำหรับการสอนแบบปกติ ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 3 ชนิด ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2 รูปแบบ รูปแบบละ 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 1 ฉบับ 40 ข้อ มีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.89 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.53 ถึง 0.87 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยวิธี t-test (Independent Samples)


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW และแบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.34/85.76 และ 83.44/82.22 ตามลำดับ
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ Jigsaw และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติมีค่าเท่ากับ 0.7020 และ 0.6371 ตามลำดับ
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ Jigsaw มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าที่เรียนด้วยแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW สูงกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ธารสุธา กุศลเฉลิมวิทย์. (2556). การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจประเทศไทย โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(48): 153-160 ; พฤษภาคม-มิถุนายน.

น้ำทิพย์ นาที. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการ การคิดวิเคราะห์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Jigsaw และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สาระภูมิศาสตร์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รำไพ ชนะจอก. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์(Jigsaw) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การสร้างภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย สมัยรัตนโกสินทร์ ที่มีผลต่อการพัฒนาชาติไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วนิดา ชมภูพงษ์. (2555). ผลการใช้ชุดการเรียนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์เรื่อง ภูมิศาสตร์ประเทศไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 4 (เชาวนปรีชาอุทิศ). การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2558). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.

ศิริธร เชาวน์ชื่น. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เศวตกนิษฐ์ ศรีสนาย. (2552). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค Jigsaw สาระประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2547). เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนสังคมศึกษา 22431 หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2555). พัฒนาทักษะการคิดตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2544). รวมบทความและงานเขียน ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี การศึกษาปรัชญาการศึกษา ประชาธิปไตย และจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.