การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบ 5 ส. ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2

Main Article Content

กัญญาภัค ชื่นชม

บทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบ 5 ส. ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนเทศบาล 3 ห้าธันวาคม เทศบาลเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน เพื่อพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 5 ส.ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เป็นการวิจัยและพัฒนา ถอดบทเรียนและขยายเครือข่ายประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริบทของการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) พัฒนา (Development) รูปแบบการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบ 5 ส. เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) ทดลองใช้จัดกิจกรรมด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย 4) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบ 5 ส. และ 5) การถอดบทเรียนและขยายผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) คู่มือการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบ 5 ส. เป็นแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 42 แผน 3) กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ 5 ส. ด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ จำนวน 42 กิจกรรม 4) แบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหา 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจในการเรียน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบ 5 ส. เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.54/83.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3) นักเรียนปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่2 มีความพึงพอใจต่อจัดกิจกรรมในระดับมาก 4) ผลการถอดบทเรียนสะท้อนผลและขยายผล พบว่ารูปแบบการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบ 5 ส. เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รวมจำนวน 42 แผน โดยได้รับการจัดประสบการณ์เพื่อทดลองปฏิบัติจริง ได้แก่ การสังเกต การสงสัย การสมมติฐาน การสืบค้น และการสรุป 5) โรงเรียนที่ได้รับการขยายผลเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเครือข่ายมีทักษะการคิดแก้ปัญหาสูงขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ:

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดต้นแบบการเรียนรู้ตามหลักด้านทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). รูปแบบการเรียนการสอยปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรส โปรดักส์ จำกัด.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2550). ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี. (2555). การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไอเดียสแควส์.

เทิน ศรีนวน. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณณาณของเด็กปฐมวัยโดยใช้การไตร่ตรองการสอนและสารนิทัศน์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัณณ์ธิชา ถนนนอก. (2560). การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรทนา ติ๊บปัญญา. (2556). การจัดประสบการณ์กิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคนิคคำถามเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เยาวพา เตชะคุปต์. (2550). การจัดการศึกษาสาหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอพีกราฟฟิกส์ดีไซน์

วรรณวิมล จงจรวยสกุล. (2551). ความพึงพอใจในการบริการของงานทะเบียนและวัดผล. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องอาจ นัยพัฒน์. (2551). การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมผสานวิธีการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอราวรรณ์ ศรีจักร. (2550). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Ausubel. (1968). Educational psychology. A cognitive view. New York Holt: Rinehart and Winston, Inc.

Berk & Winsler. (1995). Schaffolding Children’s Learning Vygotsky and Early Childhood Education. Washington DC: NAEYC.

Bruner, J.S. (1969). The Process of Education. Massachusetts: Harward University Press Cambridge .

Coghlan & Brannick. (2001). Doing Action Research in Your Own Organization. London: Sage.

Donald R. Miller. (2002). “An Assessment of Critical Thinking: Can Pharmacy Students Evaluate Clinical Studies Like Experts?”. American Journal of Pharmaceutical Education, 120(5): 4-5.

Good. (1973). Dictionary of education. 3rd ed. New York: McGraw-Hill.

Gopnik, Alison. & Meltzoff, Andrew. & Kuhl, Patrica. (1999). The Scientist in the Crib: What Early Learning Tells Us About the Mind. New York: Harper Collins Publishers Inc.

Hamlin, M. & Wisneski, D.B. (2012). Supporting the scientific thinking and inquiry of toddlers and preschoolers through play. Young Children.