ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคการศึกษา 4.0 ที่ส่งผลต่อความเป็นโรงเรียน สุขภาวะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคการศึกษา 4.0 2) เพื่อศึกษาความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคการศึกษา 4.0 กับความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคการศึกษา 4.0 ที่พยากรณ์ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 352 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .430-.980 และมีค่าความเชื่อมั่น .98 และแบบสอบถามเกี่ยวกับความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .466-.858 และมีค่าความเชื่อมั่น .98 วิเคราะห์ข้อมูลหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคการศึกษา 4.0 กับความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) สมการพยากรณ์ความเป็นโรงเรียนสุขภาวะ โดยมีปัจจัยการมีวิสัยทัศน์ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยการสร้างสรรค์งานนวัตกรรม ปัจจัยการสร้างความร่วมมือในการทำงาน ปัจจัยการเป็นผู้นำทักษะการใช้ดิจิทัล และปัจจัยการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 45.80
Downloads
Article Details
References
เกรียงวุธ นีละคุปต์. (2560). “การศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนสุขภาวะ”. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 1(2): 1-13.
ดวงดาว แช่มชื่น. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุขภาวะสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดร เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ถวิล อรัญเวศ. (2560). คุณลักษณะของนักบริหารยุคไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2562. จาก http://www.obec.go.th/news/82582.
นุช สัทธาฉัตรมงคล. (2559). “ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”. วารสารธุรกิจปริทัศน์., 8(1): 167-182.
ประวิต เอราวรรณ์. (2547). การสังเคราะห์โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารจัดการและการจัดการกิจกรรมการเรียนด้านสุขภาวะในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
พระมหาอุดร อุตฺตโร และทองดี ศรีตระการ. (2562). “ภาวะผู้นำ : การบริหารวิชาการสู่การศึกษายุค 4.0”. วารสารปัญญาปณิธาน, 3(1): 42-53.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). ออกแบบผู้นำการศึกษาใหม่: ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ:
สุนทร วัชรกิจ. (2562). “ภาวะผู้นำที่ดีในยุคไทยแลนด์ 4.0”. Veridian E-Journal Silpakorn University, 12(4): 119-139.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. (2560). การส่งเสริมสุขภาพจิต แนวคิดหลักฐาน และแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1 เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์
Erawan. (2019). Self assessmentfor Healthy school. Retrieved 1 April 2019,from. http://www.ires.or.th/?p=409