โปรแกรมการพัฒนาด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 และ 2) พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงสำหรับครู งานวิจัยแบ่งออกเป็น2ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอน จำนวน 292 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 พัฒนาโปรแกรมการพัฒนาด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงสำหรับครูโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 6 คน จาก 3 สถานศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงสำหรับครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการกำหนดเครื่องมือการประเมิน 2) โปรแกรมการพัฒนาด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงสำหรับครู ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 โมดุล รวมระยะเวลา 80 ชั่วโมง ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมจากผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
ไฉไลศรี เพชรใต้ และพชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 170-184. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/247062
ชัยพร กาบบัว และสุรเชต น้อยฤทธิ์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อํานาจเจริญ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 132-146. http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jbpe/article/view/1908
เชิดเกียรติ แก้วพวง. (2563). การพัฒนาแนวทางการพัฒนาครูด้านการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. https://khoon.msu.ac.th/_dir/fulltext/2021/01/Cherdkiat_Kaewpuang17.pdf
ดนุพล กาญจนะกันโห. (2560). การพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. https://khoon.msu.ac.th/fulltextman/full4/danupon11929/titlepage.pdf
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2561). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). ตักสิลาการพิมพ์.
ศุภมาส ชุมแก้ว. (2561). การประเมินความต้องการจำ เป็นการรู้เรื่องการประเมินของครู. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(1), 88-94.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต1. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566-2570 ของ สพป.มหาสารคาม เขต 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ ศธ 04010/ว 1543 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทางตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน. 23 มิถุนายน 2566.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ ศธ 0206.4/ว 3 เรื่อง มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของครูและบุคคลากรทางการศึกษา. 26 มกราคม 2564.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานการวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. พริกหวานกราฟฟิค.
อภิชา วิชาชัย. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. http://202.28.34.124/dspace/bitstream/123456789/862/1/62010586069.pdf
Azim, S. and Khan, M. (2012). Authentic Assessment: An Instructional Tool to Enhance Students Learning. Academic Research International, 2(3), 314-320. https://ecommons.aku.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1008&context=pakistan_ied_pdcc
Muephy, V., Fox, J., Freema, F. & Hughes, N. (2017). “Keeping It Real”:A Review of the Benefits, Challenges and Steps Towards Implementing Authentic Assessment. AISHE-J, 9(3), 3231-32313. https://ojs.aishe.org/index.php/aishe-j/article/view/280/
Refnaldi, R., Zaim, M. & Moria, E. (2017). Teachers‟ Need for Authentic Assessment to Assess Writing Skill at Grade VII of Junior High Schools in Teluk Kuantan. Advances in Social Science, Education and Humanities Research (ASSEHR), 110, 179-185. http://doi.org/10.2991/iselt-17.2017.32